ทอรีนเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยในการทำงานต่างๆ เช่น ระบบหัวใจ หลอดเลือด ถึงแม้ร่างกายจะผลิตเองได้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงต้องกินอาหารเสริม และเนื้อสัตว์ที่มีทอรีนประกอบ

ทอรีน คืออะไร

ทอรีน หรือ Taurine คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้2 แต่ก็มีบางสถานการณ์ที่ร่างกายไม่อาจผลิตทอรีนได้เพียงพอ โดยทอรีนนั้นมีแหล่งที่มาจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรืออาหารจำพวกนม เนย ไข่ต่างๆ ซึ่งเด็กเล็กหรือทารกที่ร่างกายยังไม่สามารถผลิตทอรีนได้เพียงพอเหมือนกับผู้ใหญ่จึงต้องดื่มนมหรือหาอาหารเสริมเพื่อเพิ่มทอรีน

ประโยชน์ของทอรีนที่มีต่อร่างกาย

ทอรีน มีสรรพคุณหลายอย่าง โดยประโยชน์ของทอรีนที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ช่วยบำรุงเลือดและระบบหมุนเวียนเลือด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดจึงมักมีทอรีนเป็นตัวเสริมความแข็งแรงของร่างกายและเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการฟื้นฟู นอกจากนี้ ยังช่วยบำรุงดวงตา สมอง และระบบประสาทได้อีกด้วย2

บำรุงหลอดเลือดหัวใจ

ทอรีนมีส่วนช่วยในการบรรเทาความเครียด จึงส่งผลดีต่อหลอดเลือดหัวใจ1 นอกจากนี้ การผลิตทอรีนของร่างกายจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง เช่น หัวใจล้มเหลว การเสริมทอรีนจึงทำให้ร่างกายสามารถทำงานและฟื้นฟูได้ดีเมื่อมีอาการจากหลอดเลือดหัวใจ ทอรีนจึงดีต่อสมองและหัวใจ3

เสริมทอรีน
ดีต่อสมองและหัวใจ

ลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

ทอรีนสามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ เนื่องจากทอรีนมีส่วนช่วยบำรุงหลอดเลือด1 จึงทำให้หลอดเลือดแข็งแรงและทำงานได้เต็มที่ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสึกหรอหรือการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดง

ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด

Taurine หรือทอรีนมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีแนวโน้มช่วยบรรเทาโรคเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้1 มีหลายงานวิจัยที่บ่งบอกว่าผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับของทอรีนในร่างกายที่น้อยกว่าคนทั่วไป จึงอาจเป็นไปได้ว่าการเสริมสร้างทอรีนในร่างกายสามารถช่วยบรรเทาโรคเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะปกติได้2

ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม

ทอรีนคือกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนประกอบในจอประสาทตา3 การเสริมสร้างทอรีนให้เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกายจึงเป็นการบำรุงให้จอประสาทตามีประสิทธิภาพและชะลอการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา1 เสริมสร้างการมองเห็น ช่วยลดอาการปวดตาหรือชะลออาการเกี่ยวกับสายตาได้

เสริมภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ

Taurine มีสารต้านอนุมูลอิสระ1 จึงเป็นกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ของร่างกาย ลดความเครียด จึงช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคต่างๆ มากมายและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สามารถทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงหรือการก่อโรคต่างๆ ได้มากขึ้น

สามารถพบทอรีนได้จากอาหารประเภทใด

อันที่จริงแล้ว ทอรีน หรือ Taurine คือกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง5 อย่างไรก็ตามการผลิตทอรีนอาจทำได้ไม่เพียงพอยามต้องการ โดยเฉพาะในการฟื้นฟูโรคร้ายแรง ซึ่งทอรีนสามารถหาได้จากอาหารชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น

  • เนื้อสัตว์ อาหารทะเล โดยเฉพาะสัตว์ปีกและอาหารทะเลจำพวกหอย5 ซึ่งนอกจากจะมีโปรตีนแล้วยังมีทอรีนสูง รวมไปถึงกรดอะมิโนอื่นๆ ที่ดีต่อร่างกาย เนื้อสัตว์และอาหารทะเลจำพวกหอยจึงเป็นแหล่งอาหารสำคัญต่อผู้ที่ต้องการเสริมสร้างทอรีนและดีต่อระบบไหลเวียนของเลือดและหัวใจด้วย
  • ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารแล้ว นมและไข่ยังเป็นอาหารที่มีทอรีนสูง5 เหมาะกับการเสริมสร้างทอรีนโดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อาจมีการผลิตทอรีนได้น้อย นมจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการเสริมสร้างทอรีน และยังมีแคลเซียมที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้วย
  • เครื่องดื่มชูกำลังและอาหารเสริม สำหรับการเพิ่มทอรีน (Taurine) อย่างเร่งด่วน ในเครื่องดื่มชูกำลังหลายชนิดมีทอรีนอยู่ หรือหากต้องการเสริมสร้างทอรีนโดยเฉพาะ อาจเลือกหาอาหารเสริมที่เน้นเรื่องของทอรีนได้ อย่างไรก็ตามในบางงานวิจัยอาจกล่าวว่าเครื่องดื่มชูกำลังมีคาเฟอีนที่ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดด้วย จึงอาจต้องระมัดระวังในการใช้เครื่องดื่มชูกำลังเพื่อไม่ให้ร่างกายรับภาระที่หนักจนเกินไป5 และเน้นทานอาหารเสริมที่ปลอดภัยกับเรามากกว่า

เสริมทอรีน
ดีต่อสมองและหัวใจ

ปริมาณที่เหมาะสมในการกินทอรีน

การได้รับสารอาหารทุกประเภท ควรเริ่มจากเลือกกินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ปริมาณทอรีน (Taurine) ที่เหมาะสมในแต่ละวันคือ 500-3,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งวัน2 เพื่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยบำรุงระบบไหลเวียนของเลือดให้มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทั้งนี้ควรควบคุมปริมาณให้อยู่ในเกณฑ์ที่กล่าวไป ไม่ให้น้อยไปจนร่างกายไม่สามารถดึงไปใช้ได้อย่างเพียงพอเมื่อเกิดการเจ็บป่วย และไม่มากไปจนอาจเกิดผลข้างเคียงได้

ในบางงานวิจัยกล่าวว่าสามารถเสริมทอรีนให้กับร่างกายได้มากถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคลว่ามีการสูญเสียทอรีนหรือต้องการทอรีนมากแค่ไหน ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น4,5

ใครที่ควรเลี่ยงการกินทอรีน

ถึงแม้ว่าทอรีน (Taurine) จะเป็นกรดอะมิโนที่มีประโยชน์และไม่พบหลักฐานหรืองานวิจัยที่กล่าวว่าทอรีนสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือผลเสียต่อร่างกายโดยตรง แต่ก็ยังมีผู้ที่ควรระมัดระวังในการเสริมสร้างทอรีนให้กับร่างกาย เช่น สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร และผู้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดและหัวใจไม่ควรใช้ทอรีน4เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะเป็นกลุ่มที่อาจเกิดอันตราย หากมีปริมาณทอรีนมากและเกิดการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดได้ นอกจากนี้ ยังมียาบางประเภทที่อาจกระตุ้นร่างกายมากเกินไปเมื่อใช้ร่วมกับทอรีนด้วย จึงควรระมัดระวังในการใช้ยาเสมอ

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน

ทอรีนคือกรดอะมิโนชนิดหนึ่งและเป็นสารอาหารที่มีข้อควรระวังเช่นเดียวกันกับการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ คือต้องควบคุมในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายมากกว่าประโยชน์ เมื่อกินทอรีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือกินร่วมกับสารอื่นๆ อาจเกิดผลข้างเคียงต่อระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ1 เช่น หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก หายใจหอบถี่ และเกิดการกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดมากเกินไปได้ หรือส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง เช่น มีอาการเหงื่อออก คลื่นไส้อาเจียนหรือเป็นไข้ บางคนอาจมีอาการสั่น อีกทั้งยังสามารถส่งผลต่อสายตาและจอประสาทตาทั้งการเห็นภาพเบลอหรืออาการปวดตา ทำให้ดวงตาไม่อาจทนต่อแสงแดดหรือแสงจ้าได้1 จึงควรกินทอรีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละวันและไม่ควรใช้ทอรีนเพื่อรักษาโรคเองโดยไม่ผ่านการดูแลหรือได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน และควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

เสริมทอรีน
ดีต่อสมองและหัวใจ

สรุป

ทอรีน หรือ Taurine คือกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง ซึ่งจะผลิตมากเป็นพิเศษยามที่ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยโรคร้ายแรงอย่างโรคเกี่ยวกับหัวใจ แม้ในบางครั้งร่างกายอาจไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือเด็กทารกที่จำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างทอรีน

ประโยชน์ของทอรีนมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น การช่วยบำรุงระบบไหลเวียนเลือดให้มีประสิทธิภาพ เป็นสารนำประสาทที่ช่วยลดความเครียดจึงทำให้ร่างกายสามารถลดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและระบบประสาทอื่นๆ ได้ดี มีแนวโน้มบรรเทาโรคเบาหวานและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานและยังช่วยบำรุงสายตาและการมองเห็นเพราะเป็นกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของจอประสาทตา หากต้องการเสริมสร้างทอรีนอย่างเร่งด่วนสามารถเลือกหาอาหารเสริมเพิ่มเติมได้

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Cleveland Clinic. Taurine Benefits and Side Effects (clevelandclinic.org). Health.cleavelandclinic.org. Published 2 October 2023. Retrieved 20 November 2023.
  2. Gavin Van De Walle and Rudy Mawer. What Is Taurine? Benefits, Side Effects, and More (healthline.com). Healthline.com. 28 February 2023. 
  3. Jon Johnson. How does taurine affect the body?. medicalnewstoday.com. Published 18 October 2019. Retrieved 20 November 2023.
  4. Sarfar Khan. Taurine: Heart Disease Uses, Warnings, Side Effects, Dosage (medicinenet.com). Medicinenet.com. Published 25 August 2022. Retrieved 20 November 2023.
  5. WebMD Editorial Contributors. Taurine: Sources, Uses, and More (webmd.com). Webmd.com. Published 9 December 2022. Retrieved 20 November 2023.
shop now