เรากำลังอยู่ในสังคมที่คนกินไม่ดี อยู่ไม่ดี อาหารที่มีคุณภาพหายาก แต่อาหารสำเร็จรูปหาง่าย ราคาถูก เป็นตัวกำหนดวิถีการบริโภค ซึ่งหากกลายเป็นนิสัยแล้ว ก็ยากที่จะแก้ไข การสำรวจล่าสุด พบคนไทยอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 48.28% ติดอันดับ 2 ในอาเซียน และในช่วงไวรัสโควิดระบาด เราจำเป็นต้องลดกิจกรรมลง ปัญหาจะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ คนอ้วนเสี่ยงต่อการติดโควิดมากกว่า เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งคนอ้วนจะมีไขมันสะสมตามช่วงคอและลำตัว ส่งผลต่อการหายใจได้ไม่เต็มที่ ทำให้เชื้อไวรัสมีโอกาสอยู่ในทางเดินหายใจได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้โดยตรง

เกณฑ์น้ำหนักตัวเพื่อสุขภาพดีของคนไทย

เกณฑ์น้ำหนักตัวดูได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สามารถคำนวณได้โดยใช้น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) หรือ

ที่มา: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561

3 เคล็ดลับควบคุมน้ำหนัก

  • การควบคุมอาหาร โดยทั่วไป ให้ลดแคลอรี่ลง 300-500 แคลอรี่ต่อวัน โดยรับประทานอาหารในสัดส่วนสมดุล (คาร์โบไฮเดรต 45-65% ไขมัน 20-35% โปรตีน 10-35%)
  • แนะนำให้ออกกำลังกาย อย่างน้อย 300 นาที ต่อสัปดาห์ ควบคู่กับการคุมอาหาร
  • การปรับพฤติกรรม ติดตามน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ และลดกิจกรรมที่กระตุ้นการรับประทาน

การเผาผลาญในร่างกาย ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก

การเผาผลาญพลังงานในร่างกายเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาน้ำหนักคงที่ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีผลต่อการเผาผลาญด้วยเช่นกัน ทำให้รูปร่างแต่ละคนแตกต่างกัน ที่สำคัญ ทำให้น้ำหนักร่างกายไวต่ออาหารบางอย่างมากกว่าคนทั่วไป ทำให้บางคนชอบรับประทานอาหารแตกต่างกันออกไป

ทำความรู้จัก Low carb VS Low fat

เนื่องจากพันธุกรรมในร่างกาย มีผลต่อการเผาผลาญและการย่อยอาหาร ทำให้เราสามารถแบ่งคนจากการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

เลือกอาหาร low carb หรือ low fat ให้ตรงเฉพาะกับตัวเอง

คนที่ไวต่อคาร์โบไฮเดรต

  • เลือกควบคุมน้ำหนักด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (low carb diet) เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า(คาร์โบไฮเดรต 45% ไขมัน 25% โปรตีน 30% ) เพื่อช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ตัวเร่งการสะสมไขมันในร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลขัดสี เนื่องจากร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้เร็วมาก ทำให้อินซูลินหลั่งมาก และทำให้น้ำหนักขึ้นจากน้ำตาลในเลือดสูง
  • เลือกทานอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง อาหารแป้งโฮลวีท ถั่วและธัญพืชเพื่อชะลอน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย
  • เลือกทานผักผลไม้สด โดยหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้รสหวานจัด เผือก มัน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทั้งคาร์ดิโอและฝึกกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยควบคุมระดับอินซูลิน
  • สามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย เช่น สารสกัดจากถั่วขาว และถั่วเหลืองหมัก

คนที่ไวต่อไขมัน

  • เลือกควบคุมน้ำหนักด้วยอาหารไขมันต่ำ (low fat diet) เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า (คาร์โบไฮเดรต 55% ไขมัน 10% โปรตีน 35%) เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือดภาวะที่จะนำไปสู่ไขมันสะสมในร่างกาย และหลอดเลือด
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารไขมัน โดยเฉพาะที่มีการแปรรูป เนื่องจากไขมันจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วมาก ส่งผลต่อสุขภาพและน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • เลือกทานอาหารไขมันที่เน้นกรดไขมันจำเป็น โอเมก้า-3 เพราะช่วยลดการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย ตัวการรบกวนการเผาผลาญไขมัน
  • เพิ่มการทานผักผลไม้สด เพื่อควบคุมไขมันได้ดีขึ้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทั้งคาร์ดิโอและฝึกกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มไขมันดี HDL ในร่างกาย ตัวสำคัญในการป้องกันไขมันสะสมในร่างกาย
  • สามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน เช่น ชาเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล หรือกรดไขมันจำเป็น เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง

ข้อมูลอ้างอิง

  1. รายงานสถานการณ์โรค NCDs, เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562, กลุ่มเทคโนโลยี ระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  2. World Health Organization media care. Obesity and overweight Fact sheet [Online]. 2015 [cited 2015 Apr 17]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs311/en/
  3. Christoffer C, et al. Will the COVID-19 pandemic worsen the obesity epidemic?, Nature Reviews Endocrinology, vol 16, pages 469–470 (2020).
  4. แพทย์หญิงณิชา สมหล่อ, การดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในเวชปฏิบัติ, หน่วยโภชนาการคลินิก, ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.
  5. NHLBI Obesity Education Initiative.The Practical Guide : Identification,Evaluation, and Treatment of Overweight and Obesity in Adults [Online]. 2000 [cited 2015 Apr 17]. Available from: http://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/guidelines/prctgd_c.pdf
  6. Kushner R. Clinical Management of the Obese Individual. In: Kushner R, Lawarence V, Kumar S, editors. Practical Manual of Clinical Obesity: Wiley-Blackwell; 2013. p. 51-108.
  7. Keesey ER, Hirvonen DM. Body Weight Set-Points: Determination and Adjustment. J. Nutr. 127: 1875S–1883S, 1997.
  8. Robert H Shmerling. Why it’s so hard to lose excess weight and keep it off: The Biggest Losers’ experience. March 12, 2018. (https://www.health.harvard.edu/blog/why-its-so-hard-to-lose-excess-weight-and-keep-it-off-the-biggest-losers-experience-2018031213396)
  9. Katherine D McManus. 10 behaviors for healthy weight loss. October 24, 2018. (https://www.health.harvard.edu/blog/10-behaviors-for-healthy-weight-loss-2018102415074)
shop now