ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือกลไกที่ชีวิตพัฒนาขึ้นเพื่อปกป้องอันตรายจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือสิ่งแปลกปลอมซึ่งเรียกรวมว่า “แอนติเจน” (antigen) ที่ก่อโรคหรืออันตรายอื่น เช่น

  • จุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ
  • เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง
  • อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย
  • การได้รับเลือดผิดหมู่
  • สารก่อภูมิแพ้
ภูมิคุ้มกันเปรียบเหมือนร่มป้องกันเชื้อก่อโรค

ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วย 2 ระบบย่อย ได้แก่

  1. ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate) ภูมิคุ้มกันด่านแรกที่สิ่งแปลกปลอมต้องเจอก่อนเข้าสู่ร่างกาย เช่น
    • ผิวหนัง - กันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้า
    • เยื่อเมือก - ชะล้างสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย
    • น้ำย่อย - เป็นกรดช่วยฆ่าเชื้อโรค
  2. ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ (Adaptive) เป็นภูมิคุ้มกันที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่รอดจากด่านแรกได้ โดยจะสร้างสารกำจัดเชื้อโรคที่เรียกว่า “แอนติบอดี้” ที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมได้แบบเฉพาะเจาะจง เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวบีเซลล์และทีเซลล์

ภูมิคุ้มกันร่างกายเกิดความผิดปกติ เสียหายหรือกระทบกระเทือนได้ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น การได้รับยาบางชนิด หรือติดโรคบางโรคที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดขาว หรือการมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

6 พฤติกรรมทำลายภูมิคุ้มกัน

ผลที่ตามมาคือความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (immune system disorder) บางกรณี ภูมิคุ้มกันที่มากเกินอาจสร้างปัญหาให้กับร่างกายตนเอง การแก้ไขทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงหรือปรับพฤติกรรมหรือใช้โภชนาการที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พืชสมุนไพรซึ่งให้สารเคมีที่เป็นสารอาหาร เช่น วิตามิน เกลือแร่ หรือสิ่งที่มิใช่สารอาหาร (non-nutrients) เช่น ไฟโตนิวเทรียนท์ (phytonutrients) ที่ช่วยปรับกลไกทางธรรมชาติหรือเมแทบอลิซึมที่ส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันได้

3 สมุนไพร ต้านไวรัส เพิ่มภูมิคุ้มกัน

ขมิ้นชัน มีการใช้อย่างยาวนานหลายศตวรรษในอินเดียและจีน ใช้ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ รวมทั้งป้องกันและรักษาโรคภูมิต้านตนเอง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ฯลฯ

ชะเอมเทศ เป็นสมุนไพรล้างพิษของการแพทย์แผนจีน ต้านมะเร็ง ต้านจุลชีพ ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และเสริมสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งฟื้นฟูและปกป้องระบบทางเดินหายใจ ต่อมไร้ท่อ หัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และทางเดินอาหาร

อะเซโรลา เชอร์รี แหล่งที่ดีของวิตามินซีซึ่งเป็นที่ทราบดีถึงคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันและสนับสนุนการสังเคราะห์คอลลาเจน รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของระบบทางเดินหายใจ

3 สมุนไพรต้านไวรัส เพิ่มภูมิคุ้มกัน

เครื่องดื่มผงผสมสารสกัดจากพืชธรรมชาติ อะเซโรลากับชะเอมเทศและขมิ้นชัน

ส่วนผสมอันเป็นเอกลักษณ์ของไฟโตนิวเทรียนท์ 3 ชนิด ได้แก่ อะเซโรลา เชอร์รี จากนิวทริไลท์ และสมุนไพรดั้งเดิมของทวีปเอเชีย ชะเอมเทศ และขมิ้นชัน การผสมผสานสารสำคัญของตะวันตกและตะวันออก ตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพภูมิคุ้มกัน เสริมด้วยแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของภูมิคุ้มกัน

Triple Protector ผสานพลัง เสริมภูมิคุ้มกัน
ข้อมูลอ้างอิง
  1. Babaei F, Nassiri-Asl M, Hosseinzadeh H. Curcumin (a constituent of turmeric): New treatment option against COVID-19. Food Sci Nutr. 2020 Sep 6;8(10):5215-5227.
  2. Biancatelli RMLC et al. Quercetin and Vitamin C: An Experimental, Synergistic Therapy for the Prevention and Treatment of SARS-CoV-2 Related Disease (COVID-19). Front Immunol. 2020 Jun 19;11:1451.
  3. Chen L et al. A novel combination of vitamin C, curcumin and glycyrrhizic acid potentially regulates immune and inflammatory response associated with Coronavirus infections: Aperspective from system biology analysis. Nutrient 2020; 12:1193.
  4. Dâmaris Silveira , et al. COVID-19: Is There Evidence for the Use of Herbal Medicines as Adjuvant Symptomatic Therapy? Front Pharmacol. 2020 Sep 23;11:581840.
  5. Hiedra Raul, et al. The use of IV vitamin C for patients with COVID-19: a case series. Expert Rev Anti Infect Ther. 2020 Dec;18(12):1259-1261.
  6. Murck Harald. Symptomatic Protective Action of Glycyrrhizin (Licorice) in COVID-19 Infection? Front Immunol. 2020 May 28;11:1239.
  7. Panagiotis Kritis et al . The combination of bromelain and curcumin as an immune-boosting nutraceutical in the prevention of severe COVID-19. Metabol Open. 2020 Dec;8:100066.
  8. Safa Omid, et al. Effects of Licorice on clinical symptoms and laboratory signs in moderately ill patients with pneumonia from COVID-19: A structured summary of a study protocol for a randomized controlled trial Trials. 2020 Sep 15;21(1):790.
  9. Zahedipour Fatemeh et al. Potential effects of curcumin in the treatment of COVID-19 infection. Phytother Res. 2020 Nov;34(11):2911-2920.
  10. Glycyrrhizin: An old weapon against a novel coronavirus. Phytotherapy research, 2020
  11. Glycyrrhizic acid exerts inhibitory activity against the spike protein of SARS-CoV-2. Phytomedicine, 2020
  12. Curcumin, a traditional spice component, can hold the promise against COVID-19? European Journal of Pharmacology, 2020
shop now