สุขภาพลำไส้ดี สุขภาพกายก็ดีตามไปด้วย! อาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือพรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลลำไส้ มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร จึงช่วยบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น

พรีไบโอติก คืออะไร

Prebiotics หรือ พรีไบโอติก คืออาหารจุลินทรีย์ของโพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต และร่างกายไม่สามารถย่อย หรือดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้ แต่จะเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และจะถูกย่อยสลายโดยโพรไบโอติก ที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงาน ซึ่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดี ส่งผลช่วยให้ลดการอักเสบ สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกัน และรักษาสมดุลการทำงานของลำไส้ รวมถึงระบบย่อยอาหาร ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานของร่างกายโดยรวม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สุขภาพกายมีความแข็งแรงจากภายในสู่ภายนอก1

พรีไบโอติก ต่างจากโพรไบโอติกอย่างไร

พรีไบโอติกและโพรไบโอติก มีความแตกต่างกันตรงที่พรีไบโอติกเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยเองได้ รวมถึงไม่สามารถดูดซึมผ่านได้ที่ลำไส้เล็ก แต่จะทำการส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่ และจะถูกย่อยโดยโพรไบโอติก หรือเรียกง่ายๆ ว่าพรีไบโอติกเป็นอาหารโพรไบโอติก ที่จะส่งผลให้โพรไบโอติกสามารถเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งในส่วนของโพรไบโอติกนั้น ก็จะเป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่พบได้ในลำไส้ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยย่อยพรีไบโอติก รวมถึงยังมีหน้าที่ในการผลิตสารต่อต้าน และกำจัดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นระบบการทำงานของทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหารให้เป็นปกติด้วย2

ซึ่งพรีไบโอติก และโพรไบโอติกนั้นควรกินคู่กัน เพราะพรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติก มีคุณสมบัติที่สามารถช่วยส่งเสริมการทำงานของกันและกันได้ จึงสามารถช่วยให้โพรไบโอติกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร และระบบต่างๆ ภายในร่างกายโดยตรง1

พรีไบโอติก กับประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

พรีไบโอติก กับประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร

พรีไบโอติกเป็นอาหารจุลินทรีย์สำคัญ ที่สามารถทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี และส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ เพราะว่าพรีไบโอติกมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ดังนี้1,2,5

  • ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต และการทำงานของแบคทีเรียที่ดี
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ในระบบย่อยอาหาร
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยเสริมสร้างการต้านการอักเสบของร่างกาย
  • ช่วยแก้ปัญหาทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก อุจจาระร่วง เป็นต้น
  • ช่วยรักษาเซลล์ต่างๆ ในลำไส้ให้มีความสมดุล
  • ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยควบคุมดัชนีน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยควบคุม และลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ

รวม 5 อาหารที่มีพรีไบโอติกสูง

รวม 5 อาหารที่มีพรีไบโอติกสูง

การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีพรีไบโอติกสูง เป็นวิธีการดูแล และบำรุงร่างกายที่จะช่วยให้ในแต่ละวันได้รับปริมาณพรีไบโอติกเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาหารที่มีพรีไบโอติกสูงที่เป็นพรีไบโอติกธรรมชาติ สามารถหากินได้ง่าย และสามารถกินได้ทุกวัน 

1. กีวีสีทอง

กีวีสีทองเป็นอาหารที่มีพรีไบโอติกสูง อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารหลากหลายชนิด ที่สามารถช่วยในเรื่องของการนอนหลับ ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอล อีกทั้งยังสามารถช่วยให้การทำงานของลำไส้ และระบบขับถ่ายเป็นปกติ เพราะกีวีสีทอง มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ นอกจากนี้ยังมีพรีไบโอติกธรรมชาติ ที่จะเป็นอาหารของโพรไบโอติกสายพันธุ์ F. Prau ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ของโพรไบโอติก และช่วยกระตุ้นให้การทำงานของโพรไบโอติกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น7

2. แครอทสีม่วง

แครอทสีม่วงมีวิตามิน และแร่ธาตุมากมายอย่าง วิตามินเอ ซี อี เบตาแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ และฟอลคารินอล (Falcarinol) ที่สามารถช่วยในเรื่องของผิว เล็บ ผม กระดูก สายตา ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล การต่อต้านเซลล์มะเร็ง รวมถึงยังมีพรีไบโอติกแบบเพกติน3 ที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น และสามารถช่วยลดปัญหาท้องผูกได้9

3. กล้วย

กล้วยเป็นพรีไบโอติกธรรมชาติที่สามารถหาซื้อได้ง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของการขับถ่าย เพราะว่ากล้วยมีพรีไบโอติก 2 แบบ ได้แก่ แบบอินูลิน (Inulin) และแป้งทนการย่อย8 ที่จะเป็นอาหารชั้นดีของโพรไบโอติก ช่วยส่งเสริมให้โพรไบโอติกมีปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ช่วยบรรเทา ลดปัญหาท้องผูก และเสียดท้องได้ดี9

4. กระเทียม

กระเทียมเป็นพรีไบโอติกประเภทอินูลิน และมีฟรุกแทน (Fructan) หรือเส้นใยพรีไบโอติก ที่ช่วยส่งเสริมให้จุลินทรีย์หลากหลายชนิดมีการเจริญเติบโตที่ดี และอุดมสมบูรณ์ เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) เป็นต้น กระเทียมจะช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของลำไส้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในค่ามาตรฐาน8 

5. ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตเป็นพรีไบโอติกประเภทแป้งทนการย่อย และมีเบต้ากลูแคนที่เป็นเส้นใยพรีไบโอติก ที่ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ของโพรไบโอติกได้ดี และสามารถช่วยกระตุ้นการขับถ่ายให้เป็นปกติ ส่งเสริมการทำงานของลำไส้ รวมถึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้8

กินพรีไบโอติกอย่างไรให้ปลอดภัย

การกินพรีไบโอติกโดยทั่วไป ควรกินประมาณ 100-1,000 ล้านตัว หรือ 5,000 ล้าน CFU ต่อ 1.5 กรัม (หน่วยปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์บริโภค) จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน และไม่ควรกินพรีไบโอติกเกินปริมาณความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน เพราะอาจส่งผลเสีย หรือผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ มีอาการผื่นคันตามร่างกาย เกิดการจุกเสียดท้อง หรือเกิดอาการดื้อยา เป็นต้น นอกจากนี้ ควรกินพรีไบโอติกก่อนกินอาหารประมาณ 10-20 นาที หรือพร้อมมื้ออาหาร และควรกินในเวลาเดิมเป็นประจำในทุกๆ วัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด9

สรุป

พรีไบโอติก คือสิ่งที่ไม่มีชีวิต ที่เป็นอาหารจุลินทรีย์ของโพรไบโอติก มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของลำไส้ ระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพร่างกายที่ดี โดยพรีไบโอติก และโพรไบโอติกนั้น จะแตกต่างกันตรงที่พรีไบโอติกเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ และต้องอาศัยการย่อยของโพรไบโอติก ส่วนโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ เป็นตัวช่วยย่อยพรีไบโอติก ทำให้ทั้งพรีไบโอติก และโพรไบโอติก ช่วยเสริมสร้างการทำงานของกันและกันได้เป็นอย่างดี

ซึ่งอาหารที่มีพรีไบโอติกสูงอย่าง ผัก ผลไม้ และธัญพืช ที่เป็นแหล่งพรีไบโอติกธรรมชาติ ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ได้รับพรีไบโอติกเพียงพอ เพื่อความปลอดภัย และเพื่อไม่ให้กินเยอะจนส่งผลข้างเคียงต่างๆ ต่อร่างกาย

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Lifespan. The Importance of Prebiotics. lifespan.org. Published 15 November 2022. Retrieved 1 June 2024.

  2. Phyathai. มารู้จัก Probiotic กับ Prebiotic สองสิ่งสำคัญ เพื่อสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี. phyathai.com. Published 22 June 2022. Retrieved 1 June 2024.

  3. Medparkhospital. พรีไบโอติกส์ คนไม่กินผักต้องรู้ !!!. medparkhospital.com. Published 29 September 2023. Retrieved 1 June 2024.

  4. Zespri. GREEN VS. GOLD KIWIFRUIT. zespri.com. Retrieved 1 June 2024.

  5. Bangkok Hospital. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร และต่างกันยังไงนะ. phuketinternationalhospital.com. Retrieved 1 June 2024.

  6. Arlene Semeco and Erin Kelly. The 20 Best Prebiotic Foods You Should Eat. Healthline.com. Published 13 May 2024. Retrieved 1 June 2024.

  7. Aectradecenter. กล้วยประโยชน์จัดเต็ม! แถมรสชาติดี อร่อยลงตัว. aectradecenter-th.com. Published 14 December 2023. Retrieved 1 June 2024.

  8. Elizabeth Shaw. The 8 Best Prebiotic Foods for Better Gut Health, According to Dietitians. eatingwell.com. Published 24 October 2023. Retrieved 1 June 2024.

  9. Anne Danahy. When’s the Best Time to Take Probiotics?. Healthline.com. Published 14 October 2019. Retrieved 1 June 2024.

shop now