คนผอมแต่มีพุง หรือผู้ที่ผอมแต่ลงพุง เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยมีลักษณะไม่อ้วนแต่มีพุงเกิดจากไขมันสะสมในช่องท้อง ทำให้เสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวานและหลอดเลือดหัวใจ

ผอมแต่มีพุง คืออะไร?

ผอมแต่มีพุง (Skinny Fat) คือ การที่มีรูปร่างที่ค่อนข้างผอม แต่บริเวณช่วงกลางลำตัวกลับมีพุงยื่นออกมา โดยผู้ที่ผอมแต่ลงพุงนั้นจะมีค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีค่าของมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าเกณฑ์ แต่จะมีค่าไขมันสะสมในร่างกายที่สูงกว่าปกตินั่นเอง1

จะเห็นได้ว่าการที่มีรูปร่างผอมเพรียวนั้น ไม่ได้ยืนยันได้ว่าคุณจะมีสุขภาพดีเสมอไป โดยผู้ที่ไม่อ้วนแต่มีพุงมักมีปัญหาด้านสุขภาพตามมาในอนาคต โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นๆ ตามมา จึงควรรีบแก้ไข ลดพุง เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูให้สุขภาพกลับมาสมบูรณ์แข็งแรง

คุณเข้าข่ายผอมแต่มีพุงไหม? เช็กตามนี้

ผอมแต่มีพุงนั้นตรวจสอบได้อย่างไร? จริงๆ แล้วการที่มีรูปร่างผอมแต่ลงพุงนั้นไม่ได้จัดว่าเป็นโรค แต่ก็มีหลักในการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถอิงจากเกณฑ์ ดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ช่วงระหว่าง 18.5-22.9
  • เป็นผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ปกติของผู้ชายช่วงอายุ 18-35 ปี ควรมีมวลกล้ามเนื้ออยู่ที่ 40-44% และผู้หญิงช่วงอายุ 18-35 ปี ควรมีมวลกล้ามเนื้ออยู่ที่ 31-33%
  • มีค่าไขมันสะสมในร่างกายสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ปกติของผู้ชายช่วงอายุ 20-39 ปี ควรมีค่าไขมันสะสมอยู่ที่ 8-19% และผู้หญิงช่วงอายุ 20-39 ปี ควรมีค่าไขมันสะสมอยู่ที่ 21-32%

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

สาเหตุที่ทำให้มีรูปร่างผอมแต่มีพุง

การที่มีร่างกายที่ผอมแต่มีพุงนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งจากการดำเนินชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการกิน หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้มีรูปร่างผอมแต่มีพุงส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุดังนี้

พันธุกรรม

ผู้ที่มีพันธุกรรมร่างกายตัวผอมเล็ก หรือคนในครอบครัวมีโรคประจำตัว เช่นโรคความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง หรือโรคหัวใจ มักมีโอกาสเกิดภาวะผอมแต่มีพุงได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

พฤติกรรมการอดอาหาร

หลายๆ คนอาจเคยเชื่อว่าการอดอาหารจะทำให้น้ำหนักลดลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่จริงแล้วการอดอาหารเพื่อการลดน้ำหนักเป็นวิธีที่ผิด เพราะร่างกายจะเข้าสู่ภาวะจำศีล หรือการที่ร่างกายจะกักเก็บไขมัน และใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อแทน ทำให้กล้ามเนื้อฟีบลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงกว่าเดิม จนทำให้การเผาผลาญพลังงานในร่างกายลดลง และนำไปสู่การเกิดภาวะผอมแต่ลงพุงได้2

พฤติกรรมการกินอาหาร

พฤติกรรมการกินอาหาร เลือกทานอาหารตามใจอยาก หรือการเลือกทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่นการเลือกทานเนื้อสัตว์ติดมัน ฟาสต์ฟู้ด รับประทานขนมหวาน รวมถึงน้ำหวาน โดยสามารถแบ่งประเภทอาหารที่กระตุ้นให้เกิดภาวะผอมแต่ลงพุงได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

การกินน้ำเชื่อม หรือน้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดฟรุกโตสสูง หรือ HFCS (High-Fructose Corn Syrup)

น้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดฟรักโทสสูง หรือ HFCs คือ สารที่ให้ความหวานโดยผลิตมาจากแป้งข้าวโพด นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากสารชนิดนี้มีราคาถูก และสามารถเก็บรักษาได้นาน อีกทั้งยังมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายหลายเท่า โดยสาร HCFs นี้มักพบในน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังรสหวานเช่น คุกกี้ ซีเรียล รวมถึงขนมขบเคี้ยวอื่นๆ

โดยสาร HCFs นี้เป็นสารสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งฟรุกโตสนั้นแม้จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อย แต่ส่งผลกับระดับไขมันในเลือดอย่างมาก เมื่อกินในปริมาณมากจะส่งผลให้เกิดภาวะไม่อ้วนแต่มีพุง นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน และโรคไขมันพอกตับได้

การกินไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ หรือทรานส์แฟท (Transfat) คือ ไขมันสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมักพบในมาร์การีน เค้ก ขนมปัง อาหารทอด อาหารแช่แข็ง หรืออาหารแปรรูปต่างๆ

ไขมันทรานส์เป็นไขมันตัวร้ายที่จะเข้าไปเพิ่มปริมาณของไขมันเลว (LDL) และลดปริมาณของไขมันดี (HDL) ภายในร่างกาย หากในร่างกายมีไขมันเลวมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมได้ โดยไขมันที่ไปสั่งสมบริเวณหน้าท้อง จะทำให้เกิดภาวะผอมแต่ลงพุง และยังก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้อีกด้วย

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ วิสกี้ ไวน์ หรือแม้แต่ค็อกเทล ก็สามารถทำให้เกิดภาวะผอมแต่มีพุงได้ โดยยิ่งดื่มมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เกิดไขมันสะสมที่บริเวณช่องท้องได้มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ไม่ได้ก่อประโยชน์ให้กับร่างกาย จึงเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้บริเวณหน้าท้อง หรือที่เรียกว่า ‘พุง’ นั่นเอง

การออกกำลังกายไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสม

หลายๆ คนมักเคยคิดว่าถ้าออกกำลังกายอย่างหนัก จะช่วยให้ไขมันสลายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกายแต่พอดีจะช่วยลดไขมันส่วนเกิน ลดพุงได้ดีกว่า โดยเมื่อออกกำลังกายเสร็จ ให้หลีกเลี่ยงการอดอาหาร แต่เน้นกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้การออกกำลังกายในแต่ละครั้งเกิดการเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไปนั่นเอง

ผอมแต่ลงพุง เสี่ยงเกิดโรคอะไรได้บ้าง

การที่มีรูปร่างผอมไม่ได้แปลว่าร่างกายแข็งแรงเสมอไป เพราะหากมีรูปร่างที่ผอม แต่มีพุงยื่นออกมา นับว่าเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งผู้ที่มีรูปร่างผอมแต่มีพุงนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ตามมา ได้แก่

ภาวะไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง คือ การที่มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายที่บริเวณหลอดเลือด ใต้ชั้นผิวหนัง หรือบริเวณช่องท้องทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่มีภาวะผอมแต่มีพุงอาจเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน เนื่องจากไขมันจะเข้าไปอุดที่บริเวณหลอดเลือด และบริเวณช่องท้อง

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่มีค่าความดันสูงกว่าระดับปกติ คือตัวบนไม่ควรเกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท โดยปกติแล้วความดันโลหิตสูงมักพบกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ โดยคนที่ผอมแต่มีพุงก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายกักเก็บไขมันไว้ในกระแสเลือด จนเกิดเป็นความดันโลหิตสูง นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูงนั้นก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

โรคไทรอยด์

โรคไทรอยด์ เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ เรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มีอาการตัวสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด แต่กลับมีภาวะผอมแต่ลงพุง เนื่องจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งตัวฮอร์โมนชนิดนี้ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารภายในร่างกาย หากเกิดความผิดปกติแล้ว ก็จะส่งผลกับระบบเผาผลาญนั่นเอง

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคภัยร้ายที่คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นภาวะที่กระดูกมีมวลน้ำหนักน้อยลง กระดูกเปราะง่ายกว่าปกติ ทำให้เวลาหกล้ม หรือถูกกระแทกมา อาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยคนที่ตัวผอมแต่มีพุง มักมีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ควรหมั่นตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 203

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องเกิดกับคนตัวอ้วนเสมอไป ผู้ที่มีพันธุกรรมรูปร่างผอม หรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด คือกลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติบริเวณหลอดเลือดหัวใจ และส่งผลกับการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ โดยผู้ที่มีรูปร่างผอมแต่มีพุงมักมีความเสี่ยงของการเกิดโีรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากกว่าปกติถึง 5 เท่า เนื่องจากมีระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้น (LDL-C) และมีระดับฮอร์โมนอะดิโพเนคทิน (Adiponectin) ในร่างกายลดน้อยลง

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

5 วิธีกำจัดไขมันหน้าท้อง สำหรับคนผอมแต่มีพุง

หลังจากที่ได้รู้ความเสี่ยงของโรคต่างๆ ของผู้ที่ผอมแต่มีพุงไปแล้วนั้น มาลองดูวิธีการกำจัดไขมันหน้าท้อง เพื่อลดพุงกันดีกว่า โดยวิธีการแก้ไขเหล่านี้จะต้องใช้ความสม่ำเสมอในการแก้ไข ควรตั้งใจที่จะปฏิบัติจริงๆ เพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น เป็นคนผอมที่มีสุขภาพดี แข็งแรง ไร้พุง แนะนำให้ทำตาม 5 วิธี ดังนี้

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่ดีมีประโยชน์ นอกจากช่วยบำรุงรักษาอวัยวะภายในร่างกายแล้ว ยังช่วยให้รูปร่างภายนอกดียิ่งขึ้น ให้เน้นการทานอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างการบริโภคผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เช่น สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี แอปเปิล แตงกวา ต้นหอม จะช่วยลดพุงได้ เนื่องจากเป็นอาหารกลุ่มที่มีกากใยสูง อีกทั้งยังเป็นไฟเบอร์ที่สามารถละลายในน้ำได้ จึงช่วยลดโอกาสการเกิดไขมันอุดตันได้ แนะนำให้หันมาทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนมากกว่าการบริโภคอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารแช่แข็ง4

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยลดพุงได้อีกด้วย บางคนที่มีรูปร่างผอมอาจคิดว่าตนเองผอมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายก็ได้ แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกายช่วยให้มีกล้ามเนื้อมากขึ้น ช่วยลดไขมันที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการกระจายตัวของไขมันได้ดีขึ้น แนะนำให้เลือกออกกำลังกายที่ช่วยเผาผลาญพลังงานได้อย่างรวดเร็ว เช่น การว่ายน้ำ การกระโดดเชือก การวิ่ง หรือต่อยมวย เป็นต้น

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้น โดยปกติแล้ววัยผู้ใหญ่ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากนอนพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส รวมถึงส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึกหิว ทำให้รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดภาวะผอมแต่มีพุงได้นั่นเอง

4. จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม

ความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา รวมถึงอาการผอมแต่มีพุงก็เช่นกัน เมื่อร่างกายมีความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาเพื่อกำจัดความเครียด และสร้างพลังงานให้กับร่างกาย โดยหากมีความเครียดสะสม จนเป็นความเครียดแบบเรื้อรัง ระดับฮอร์โมนตัวนี้จะหลั่งออกมามากขึ้นๆ จนส่งผลเสียกับร่างกาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพ อีกทั้งฮอร์โมนเครียดจะเข้าไปควบคุมเซลล์ไขมัน เพิ่มการเคลื่อนตัวของไขมันไตรกลีเซอไรด์ให้เข้าไปสะสมในเซลล์ไขมันมากขึ้นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะผอมแต่ลงพุง ดังนั้นการจัดการความเครียด เช่น การเต้นแอโรบิก ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ จึงเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่ช่วยให้ร่างกายกลับมาทำงานได้อย่างปกติ5

5. เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ดี

เลือกทานอาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยป้องกันการเกิดภาวะผอมลงพุง ขอแนะนำให้ลองกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของโปรตีนจากถั่วเหลืองและเมล็ดเจีย และยังอุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด รวมถึงมีวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับอาหารหนึ่งมื้อ เพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะผอมลงพุงโดยไม่รู้ตัว

บอดี้ดี เริ่มที่ลำไส้

สรุป

การที่มีรูปร่างผอมไม่ได้แปลว่ามีสุขภาพดีเสมอไป บางคนมีรูปร่างผอมแต่มีพุงยื่นออกมาก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีรูปร่างผอมแต่มีพุงควรรีบบำรุงร่างกายอย่างเร่งด่วน เนื่องจากคนที่ไม่อ้วนแต่มีพุงมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ตามมาทั้งโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือแม้แต่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ แนะนำให้เริ่มออกกำลังกาย ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง มีสุขภาพดีอีกครั้ง

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Jurairat N. “ผอมแต่มีพุง” (Skinny Fat) ออกกำลังกายอย่างไรดี ?. Sanook.com. Published on 29 November 2023. Retrieved 20 December 2023.
  2. Rattinan Medical Center. ผอมแต่มีพุง (Skinny Fat) ทำไงดี? ให้พุงยุบ หุ่นกลับมาปัง!. Rattinan.com. Published on 23 September 2022. Retrieved 20 December 2023.
  3. นพ. ธเนศ สินส่งสุข. รูปร่างผอม แต่อาจมีโรคร้ายซ่อนอยู่. Samitivejhospitals.com. Published on 09 February 2022. Retrieved 20 December 2023.
  4. พบแพทย์. ผอมแต่มีพุง และแนวทางการแก้ไข. Pobpad.com. Published (no date). Retrieved 20 December 2023.
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ฮอร์โมนเครียด ทำให้อ้วนได้. Thaihealth.or.th. Published 19 March 2018. Retrieved 20 December 2023.
shop now