Peptide หรือเปปไทด์ คือ หน่วยย่อยที่สุดของโปรตีน โดยเปปไทด์จะมีการเรียงต่อกันเป็นสายคล้ายลูกปัดของสร้อยข้อมือ สายคล้องนั้นเรียกว่า พันธะเปปไทด์ หรือพันธะที่ยึดโปรตีนกรดอะมิโนเอาไว้ และเมื่อมีเปปไทด์จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันก็จะทำให้เกิดเป็นพอลิเปปไทด์ชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ไดเปปไทด์ โอลิโกเปปไทด์ และไตรเปปไทด์
โดยพันธะเปปไทด์ หรือพอลิเปปไทด์ที่คอยเชื่อมกันไว้ ประกอบขึ้นจากจำนวนกรดอะมิโนตั้งแต่ 2-50 ตัว ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรดอะมิโมจำเป็น ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ต้องอาศัยการกินเพิ่มเข้าไปเท่านั้น และกรดอะมิโนทั่วไป ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้
พันธะเปปไทด์หรือพอลิเปปไทด์แต่ละสายมีหน้าที่การทำงาน และโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานของเซลล์ต่างๆ ของร่างกายอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งในด้านของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเมื่อเกิดบาดแผล และการทำงานร่วมกันกับเซลล์อื่นๆ
ดังนั้น เปปไทด์ จึงเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อกินเข้าไปแล้วย่อมส่งผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อ เพราะช่วยเสริมสร้างการสร้างกล้ามเนื้อตั้งแต่ระดับการสังเคราะห์เซลล์ นอกจากนี้ เปปไทด์ ยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย
นอกจากการกินเปปไทด์ที่ได้จากอาหารทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดป่าน และข้าวสาลี ปัจจุบันยังมีการนำเปปไทด์จากวัตถุดิบต่างๆ เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบของยา และอาหารเสริม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงจุดมากขึ้น
Peptide แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
Peptide แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันที่จำนวน และตำแหน่ง โดยพันธะเปปไทด์ แต่ละตัวมีชื่อเรียก และหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
Dipeptide (ไดเปปไทด์)
Dipeptide (ไดเปปไทด์) เกิดจากกรดอะมิโน 2 ตัวมาเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี เรียกว่า พันธะเปปไทด์5 ซึ่ง Dipeptide (ไดเปปไทด์) มีส่วนช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์ของน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ร่วมกับไฮโดรไลซ์ไดแซ็กคาไรด์ และพอลินิวคลีโอไทด์9
Tripeptide (ไตรเปปไทด์)
Tripeptide (ไตรเปปไทด์) เกิดจากกรดอะมิโน 3 ตัวมาเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี ที่เรียกว่า พันธะเปปไทด์ เช่น กลูตาไทโอน ซึ่งประกอบด้วยกรดกลูตามิก กรดซิสเตอีน และกรดไกลซีน ซึ่งไตรเปปไทด์อย่างกลูตาไทโอนนั้นมีประโยชน์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ทั้งแอลกอฮอล์ และสารพิษต่างๆ นอกจากนี้ กลูตาไทโอนยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ภายในร่างกาย และยังมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดเม็ดสี ช่วยลดการกระจุกตัวของเมลานิน ทำให้ผิวดูกระจ่างใส6-7
Oligopeptide (โอลิโกเปปไทด์)
Oligopeptide (โอลิโกเปปไทด์) เกิดจากกรดอะมิโน 3-20 ตัวมาเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี ซึ่งโอลิโกเปปไทด์นั้นสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมผิว เพิ่มความชุ่มชื้น รวมถึงการต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว8-11
Dual Peptide คืออะไร มีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อในช่วงวัยต่างๆ อย่างไร
นอกจากพันธะเปปไทด์ หรือพอลิเปปไทด์ของกรดอะมิโนที่กล่าวมาทั้ง 3 ประเภทแล้ว นักวิจัย ยังได้คิดค้นการนำเปปไทด์จากแหล่งที่มาหลายๆ แหล่ง มารวมกัน เพื่อทดสอบในความสามารถในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือที่เรียกว่า ดูอัลเปปไทด์ ที่เกิดจากการนำเปปไทด์ชนิดใดก็ได้ จำนวน 2 ชนิดมาใช้ร่วมกัน
ยกตัวอย่างเช่น หากนำเปปไทด์ถั่วเหลือง และเปปไทด์ถั่วลันเตามาผสานกัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะทำให้เกิดเป็นดูอัลเปปไทด์ ที่นอกจากจะช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ยังทำให้กล้ามเนื้อเรียงตัวเป็นเส้น ซึ่งส่งผลให้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ชอบออกกำลังกาย คนที่มี active lifestyle ตลอดจนกลุ่มคนวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุที่อาจมีภาวะโปรตีนสลาย มีความต้องการในการดูแลร่างกายมากเป็นพิเศษ
ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย
จากผลการวิจัยในปี 2013 ของ Jim Stoppani, Timothy Scheett, James Pena, Chuck Rudolph และ Derek Charlebois พบว่าการกินอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของ dual peptide สามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกาย และยังช่วยให้สามารถออกกำลังได้นานขึ้นอีกด้วย12
นอกจากนี้ การกินอาหารเสริมดูอัลเปปไทด์ยังช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญของร่างกาย หรือเมตาบอลิซึมให้เพิ่มมากขึ้น และลดโอกาสบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น เคราติน ไคร์เนส หรือเอนไซม์ที่ดูแลกล้ามเนื้อของร่างกายและกล้ามเนื้อของหัวใจ ตลอดจน แลคติกไฮโดรจีเนส ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์คอยแจ้งเตือนว่าในตอนนี้ร่างกายมีกล้ามเนื้อบาดเจ็บตรงไหนบ้าง
ดังนั้น ทางทีมวิจัยจึงสรุปว่า dual peptide ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับคนชอบออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย จึงจำเป็นต้องกินโปรตีนที่เสริมดูอัลเปปไทด์เพื่อช่วยในการเสริมสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น
คนที่มี Active Lifestyle
สำหรับคนที่มี active lifestyle ชอบกิจกรรม adventure หรืออาชีพที่ใช้แรงมากๆ เช่น เชฟ ครูสอนโยคะ ถือเป็นกลุ่มคนที่ต้องการโปรตีนอย่าง dual peptide ไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับการเคลื่อนไหวในกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน
โดยในปี 2015 ได้มีการทดสอบผลลัพธ์ของ dual peptide หรือดูอัลเปปไทด์ ด้วยการใช้อาหารเสริมโปรตีนอย่าง อาร์จีนีน (Arginine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งเข้ามาในการทดลองที่กลุ่มตัวอย่างต้องวิ่งแบบสปรินต์ติดต่อกัน 2 วัน ในการทดลองนี้ มีสมาชิกผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้หญิงจำนวน 7 คน และเป็นผู้ชายจำนวน 15 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเคยเข้าแข่งขันแฮนด์บอลในระดับนานาชาติมาแล้ว โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องจำลองการเล่นเกมแฮนด์บอลติดต่อกัน 2 วัน
ผู้ทำการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการวิ่งสปรินต์ในวันที่ 2 นั้นดีขึ้นมากในกลุ่มนักกีฬาที่ได้กินอาหารเสริมเข้าไป เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ได้กินยาหลอก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถสรุปผลการทดลองนี้ได้ว่า การกินดูอัลเปปไทด์มีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีนัยยะสำคัญต่อนักกีฬา และคนที่ต้องใช้แรงมากอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน2
กลุ่มวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ
ไม่เพียงแค่นักกีฬา คนที่ออกกำลังกาย หรือคนที่ต้องใช้แรงมากๆ ในชีวิตประจำวันเท่านั้นที่ต้องการดูอัลเปปไทด์เข้าไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และลดความเหน็ดเหนื่อยของร่างกาย แต่กลุ่มคนวัยกลางคนไป จนถึงผู้สูงอายุเองก็ต้องการดูอัลเปปไทด์ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน
เนื่องจากร่างกายของมนุษย์เจริญเติบโตสูงสุดเมื่อมีอายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นจะเข้าสู่สภาวะเสื่อมถอย ค่อยๆ แก่ชราลงตามลำดับ จึงทำให้กลุ่มคนวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อซ่อมแซมร่างกาย โดยเฉพาะการรักษามวลกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ
อาหารที่มีเปปไทด์สูง
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบออกกำลังกาย คนที่ใช้แรงกายมากๆ ในชีวิตประจำวัน กลุ่มคนวัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ หรือคนในช่วงวัยอื่นๆ ก็ตาม ร่างกายของเราล้วนต้องการอาหารที่มีเปปไทด์เป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น โดยอาหารที่มีเปปไทด์คุณภาพ หรือโปรตีนสูง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ถั่วเหลือง
เปปไทด์ ในถั่วเหลือง คือ หน่วยย่อยของโปรตีนที่ได้จากการย่อยสลายของถั่วเหลือง โดยใช้เอนไซม์ protease ก่อนจะถูกดูดซึมในลำไส้เล็ก และผ่านกระบวนการแตกตัวจนได้เป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่างๆ อย่างกรดอะมิโนไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย13-14
ถั่วลั่นเตา
เปปไทด์ในถั่วลันเตามีที่ชื่อเรียกว่า Pea Peptide15 ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ โดยเฉพาะไลซีน (Lysine)17 และแอล-อาร์จินีน (L-arginine) ที่สามารถช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ซ่อมแซม และเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาจาก Journal International Society of Sports Nutrition ที่ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 พบว่าโปรตีนจากถั่วลันเตาสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อ Biceps แทนเวย์โปรตีนได้16
ข้าวสาลี
เปปไทด์ในข้าวสาลี มีชื่อเรียกว่า Wheat Peptide ที่เป็นผลพลอยได้จากไฮโดรไลซ์โปรตีนข้าวสาลี โดยเปปไทด์ในข้าวสาลีนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายประการ เช่น มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิตสูง และช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย รวมถึงยังมีการศึกษาจาก Journal of Functional Foods ว่าเปปไทด์ข้าวสาลี สามารถช่วยปรับปรุงโครงสร้างและความหนาแน่นของมวลกระดูก สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนในวัยชราได้อีกด้วย20
เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล
เปปไทด์ ในเนื้อสัตว์ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นมากมาย ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและร่างกาย โดยมีการศึกษาที่พบว่าเปปไทด์จากเนื้อสัตว์ อย่าง เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ จะสามารถยับยั้ง Angioten-Converting Enzyme หรือ ACE ที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของโซเดียม และก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง (Anti-Hypertensive Activity) ได้18-19
อีกทั้งเปปไทด์ในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรืออาหารทะเล ยังสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ที่เป็นตัวการในการก่อให้เกิดโรคชรา และภาวะเสื่อมสภาพของร่างกายได้
เมล็ดแฟลกซ์
เปปไทด์ในเมล็ดแฟลกซ์ มีชื่อเรียกว่า กรดอัลฟ่าไลโนเลนิก (ALA) ซึ่งเป็นหนึ่งในกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่เมล็ดแฟลกซ์และน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์นั้นมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ไตของผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองกลับมาทำงานได้ดีขึ้น โดยการกินเมล็ดแฟลกซ์บด
แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรกินเมล็ดแฟลกซ์เกิน 40 กรัมต่อวัน มิฉะนั้นอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนได้10
สรุป
เมื่อทราบแล้วว่าเปปไทด์ มีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อ เสริมการทำงานร่วมกับฮอร์โมน และเอนไซม์ชนิดต่างๆ ผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพจึงควรเสริมเปปไทด์เพิ่มเติมจากอาหารพื้นฐาน ที่อาจให้โปรตีนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยอาจเลือกใช้อาหารเสริมโปรตีนที่มีพันธะเปปไทด์จากถั่วเหลือง ถั่วลันเตา และข้าวสาลี ที่เป็นโปรตีนจากพืชคุณภาพสูง ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล