พาร์สลีย์มีส่วนช่วยเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงกระดูก บำรุงสายตา และต้านมะเร็ง1
ผักใบเล็กที่เรามักเจอบ่อยๆ ในการใช้ตกแต่งจานอาหารอย่าง “พาร์สลีย์” แท้จริงแล้วมีประโยชน์มากกว่าใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยพาร์สลีย์มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด ด้วยผลงานวิจัยที่ออกมาพบว่าพาร์สลีย์มีสรรพคุณอยู่มากมาย ซึ่งพาร์สลีย์สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูโดยเฉพาะอาหารตะวันตก บทความนี้จะพาไปรู้จักกับผักใบเล็กแต่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์อย่างพาร์สลีย์กัน
ทำความรู้จัก พาร์สลีย์ คืออะไร?
พาร์สลีย์ (Parsley) หรือ พาร์สเลย์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Petroselinum crispum (Mill.) ซึ่งพาร์สลีย์ คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ผักชี เป็นผักใบเล็ก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
- ต้นพาร์สลีย์เป็นพืชขนาดเล็กลำต้นตั้งตรงคล้ายต้นผักชี
- ก้านมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
- ใบพาร์สลีย์เป็นใบเดี่ยวสีเขียว มีทั้งใบหยิกและใบแบนคล้ายผักชีใบเล็ก
- ดอกพาร์สลีย์ออกเป็นช่อแบบเป็นซี่ของก้านร่ม มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 10-12 ดอก กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว
- ผลของพาร์สลีย์มีกลิ่นหอมสีน้ำตาลแดงสลับขาว เป็นเมล็ดขนาดเล็กรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยม2
ถึงแม้ว่าพาร์สลีย์จะเป็นผักใบเล็กแต่เต็มไปด้วยสรรพคุณมากมายที่ดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพของร่างกาย ทั้งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยในการย่อยอาหาร2 โรคภูมิแพ้ ลดการอักเสบต่างๆ
ปัจจุบันพาร์สลีย์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในฐานะสมุนไพร เครื่องเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากพาร์สลีย์ได้ทุกส่วน โดยการนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเพื่อให้ได้กลิ่นหอมและรสขมอ่อนๆ3 ทั้งการใส่ลงไปในสลัด ซอส หรือเพิ่มลงในซุป เป็นต้น
พาร์สลีย์ กับประโยชน์ด้านสุขภาพที่น่าสนใจ
พืชใบเล็กที่สรรพคุณไม่น้อยอย่างพาร์สลีย์ ที่นอกจากจะมีความสวยงาม มีกลิ่นหอม และมักจะถูกนำเอาไปตกแต่งจานอาหารให้มีความสวยงามแล้ว พาร์สลีย์ยังมีประโยชน์ที่สำคัญต่อการบำรุงร่างกายในด้านต่างๆ ดังนี้
บำรุงสุขภาพหัวใจ
พาร์สลีย์เป็นสมุนไพรที่มีสารอาหารเยอะที่สามารถช่วยให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เป็นแหล่งวิตามินบีโฟเลตที่ดี ซึ่งการกินโฟเลตในปริมาณมากจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้มากถึง 38%4 ด้วยกัน ซึ่งโฟเลตจะช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีน จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วย
จากการศึกษา พบว่าร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ อาจเกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้6 นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพบว่า หากมีสารโฮโมซิสเทอีนมากเกินไปอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจได้ โดยโฮโมซิสเทอีนจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือดแดงและการทำงานของหลอดเลือดแดง จนอาจส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันได้5
บำรุงหัวใจ
เสริมภูมิคุ้มกัน
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
จากงานวิจัยพบว่า ในพาร์สลีย์อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก7 ได้แก่ วิตามินซี ฟลาโวนอยด์ และแคโรทีนอยด์3,4 โดยในวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ฟลาโวนอยด์จะช่วยลดความเสี่ยงในโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็งลำไส้ ได้อีกด้วย ส่วนแคโรทีนอยด์สามารช่วยลดความเสี่ยงในโรคบางชนิด รวมไปถึงโรคมะเร็งปอด
ต้านเชื้อแบคทีเรีย
พาร์สลีย์ สามารถช่วยลดการเกิดเชื้อรา ยีสต์ และเชื้อแบคทีเรียที่อันตราย8 โดยมีงานศึกษาจากหลอดทดลองว่า สารสกัดจากพาร์สลีย์สามารถช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ S. aureus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในอาหารที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อ Listeria และ Salmonella ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษเช่นกัน
ช่วยขับปัสสาวะ
พาร์สลีย์ช่วยกระตุ้นการทำงานของไต เพราะอุดมไปด้วย Apigenin ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ขับปัสสาวะออกมา โดยทั้งเมล็ดและต้นพาร์สลีย์สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้2
บำรุงกระดูก
พาร์สลีย์อุดมไปด้วยวิตามินเคซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับกระดูก9 ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้3
บำรุงสายตา
แคโรทีนอยด์ 3 ชนิดอย่างลูทีน เบต้าแคโรทีน และซีแซนทีนที่พบในพาร์สลีย์มีส่วนช่วยในการปกป้องดวงตาและเสริมประสิทธิภาพการมองเห็นที่ดี ซึ่ป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ (AMD) อันเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้ตาบอดได้ในอนาคต3,10
ลดโอกาสเกิดเซลล์มะเร็ง
สารประกอบที่อยู่ในพาร์สลีย์สามารถลดโอกาสเกิดเซลล์มะเร็งได้ อย่างฟลาโวนอยด์11 สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ วิตามินซี ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเซลล์มะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย3
พาร์สลีย์ กับคุณค่าทางโภชนาการ
พาร์สลีย์ มีประโยชน์ในด้านโภชนาการเป็นอย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ดีต่อสุขภาพอยู่มากมาย4,12 คือ วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินเค
พาร์สลีย์ มีวิธีการกินอย่างไรบ้าง
พาร์สลีย์สามารถนำมากินได้หลายวิธี ตั้งแต่อาหารเสริม นำไปดื่มเป็นชา ไปจนถึงพาร์สลีย์แห้งที่นำไปใส่ในอาหารประเภทต่างๆ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของวิธีการกินได้ดังนี้
อาหารเสริม
หากกินพาร์สลีย์ในรูปแบบอาหารเสริมจะทำให้ได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่แม้กินในปริมาณน้อย เพราะพาร์สลีย์ได้ถูกสกัดมาจนเข้มข้นแล้ว การกินอาหารเสริมพาร์สลีย์เพียง 1 เม็ดอาจเทียบเท่ากับการกินพาร์สลีย์หลายกรัมด้วยกัน ทำให้ไม่ต้องมากินพาร์สลีย์ในปริมาณมาก
บำรุงหัวใจ
เสริมภูมิคุ้มกัน
ชาพาร์สลีย์
การนำพาร์สลีย์มาทำชาเป็นอีกหนึ่งเมนูที่น่าสนใจ เพราะชาพาร์สลีย์หอมๆ นี้สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น กำหนดความอ่อน-เข้มของชาได้ รวมไปถึงกำหนดรสชาติได้ตามส่วนผสมที่ใส่ลงไป รวมถึงสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการกินพาร์สลีย์ในมื้ออาหาร13
ชงชาพาร์สลีย์ด้วยวิธีง่ายๆ โดยการนำใบพาร์สลีย์และก้านสดหรือแห้งมาสับละเอียด 2 ถ้วยตวงไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ถ้วยให้เดือด จากนั้นแช่ทิ้งไว้ตามความต้องการ หากอยากได้ชาอ่อนให้แช่ไว้ 30 วินาที - 1 นาที หากอยากได้ชาเข้มให้แช่ไว้ 1-3 นาที อาจใส่มะนาวและน้ำผึ้งเข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติตามใจชอบ
พาร์สลีย์แห้ง
ใบพาร์สลีย์แห้งเมื่อบดจะมีกลิ่นหอมฉุนและรสค่อนข้างขม14 มีงานวิจัยพบว่าใบพาร์สลีย์อบแห้งมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าใบสดถึง 17 เท่า3 โดยใบพาร์สลีย์แห้งสามารถนำมาใส่ในอาหารประเภทต่างๆ ได้ เช่น พิซซ่า พาสต้า ซุปสตูว์ สลัด
ข้อควรระวังในการกินพาร์สลีย์ มีอะไรบ้าง
แม้ว่าพาร์สลีย์มีประโยชน์อยู่มาก แต่ก็มีข้อควรระวัง3 ดังนี้
- ก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ตั้งแต่เบาๆ ไปจนถึงรุนแรง หากสงสัยว่ามีอาการแพ้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- สตรีมีครรภ์ควรต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เพราะในพาร์สลีย์มีสารบางอย่าง เช่น apiol และ myristicin หากได้รับปริมาณมากเกินไปจะส่งผลต่อการหดตัวของมดลูกจนนำไปสู่สภาวะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
- การปวดท้อง เพราะในพาร์สลีย์มีเส้นใยอยู่มาก หากกินพาร์สลีย์มากเกินไปจะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
- ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เนื่องจากในพาร์สลีย์มีออกซาเลตอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้
- ปฏิกิริยาระหว่างยา ในพาร์สลีย์ มีสารบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อตัวยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด เนื่องจากวิตามินเคในพาร์สลีย์ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาได้
บำรุงหัวใจ
เสริมภูมิคุ้มกัน
สรุป
พาร์สลีย์ผักใบเล็กที่เต็มไปด้วยคุณภาพมีสารอาหารสำคัญอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี และโฟเลตที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ วิตามินเคที่ส่งผลต่อมวลกระดูกลดความเสี่ยงกระดูกหัก มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เบต้าแคโรทีนที่ช่วยปกป้องดวงตาลดการเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมอีกด้วย แต่หากกินพาร์สลีย์มากเกินไปอาจส่งผลให้ปวดท้องได้ด้วยเส้นใยที่มีอยู่เยอะของพาร์สลีย์ ปฏิกิริยาในสารประกอบของพาร์สลีย์ต่อยาบางชนิดที่ส่งผลต่อตัวยา การคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแท้งในสตรีมีครรภ์ได้ด้วยสารประกอบที่ส่งผลต่อการหดตัวของมดลูก แม้ว่าพาร์สลีย์จะอุดมไปด้วยประโยชน์แต่ก็มีข้อควรระวังการกินบางอย่างเพื่อไม่ให้ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้