หลักการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ เช่น  โรคเบาหวาน และโรคอ้วน คือการควบคุมโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และปรับวิถีชีวิตให้สมดุล ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่พบว่าการปรับวิถีชีวิตให้สมดุลเป็นเรื่องยากที่สุด เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนนิสัยในระยะยาว แต่หากคนไข้สามารถทำได้ ก็จะห่างไกลจากโรคและได้รับผลการรักษาอย่างสูงสุด เช่น วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคหัวใจก็คือ ปรับเปลี่ยนนิสัยการกิน ไม่ใช่เพียงแต่ควบคุมอาหารในระยะสั้นๆ เป็นต้น

การปรับวิธีการกินเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การควบคุมอาหารมีประสิทธิภาพก็คือ การวางแผนการกิน โปรแกรมอาหารที่ทำให้คุณหิวย่อมทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับการควบคุมแคลอรี การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้นเป็นเทคนิคที่จะทำให้คุณควบคุมแคลอรีจากอาหารได้ในระยะยาว เพราะไม่ต้องคุมอาหารไป หิวไปเช่นเดิม

ธัญพืชพร้อมกิน ชนิดแท่ง

ของว่างมื้อเล็กๆ เหมาะเป็นตัวช่วยสำหรับคนต้องการควบคุมน้ำหนักเพราะ

  • สะดวกและไม่ต้องเสียเวลามาก เหมาะกับคนที่เร่งรีบ ทำงานนอกสถานที่ หรือเดินทางบ่อย เพราะสามารถกินได้ทันที
  • มีแคลอรีไม่สูง ไม่ต้องเสี่ยงกินน้ำตาลหรือสารปรุงแต่งอีกต่อไป กินแทนอาหารจานด่วนหรืออาหารว่างที่มีแคลอรีหรือน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน หรือเบเกอรีต่างๆ

กินมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ดีกว่ากินมื้อใหญ่

การกินอาหารไม่สม่ำเสมอเป็นปัจจัยที่ทำให้การเผาผลาญแย่ลง เพราะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหรือแคลอรีในร่างกายสูงต่ำขึ้นๆ ลงๆ ตลอด ส่งผลเสียต่อการเผาผลาญในร่างกาย มีงานวิจัยพบว่า การกินอาหารน้อยๆ แต่บ่อยๆ มีผลดีต่อสุขภาพ ช่วยให้คุณควบคุมแคลอรีได้ดีกว่า และควบคุมน้ำหนักได้ดีในระยะยาวด้วย

การเผาผลาญในร่างกายต้องการไฟโตนิวเทรียนท์ปลอดสารพิษ

สำหรับผู้ที่อยู่ในโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก เซลล์ในร่างกายต้องทำงานเร็วขึ้นเพื่อเร่งการเผาผลาญ เร่งกำจัดของเสีย ร่างกายจึงต้องใช้วิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์มากขึ้น ซึ่งหากสารอาหารไฟโตนิวเทรียนท์และการเผาผลาญไม่สมดุลกันย่อมส่งผลให้การเผาผลาญชะลอตัว ส่งผลให้โปรแกรมควบคุมน้ำหนักขาดประสิทธิภาพได้

“ไฟโตนิวเทรียนท์” ไม่เพียงแต่ช่วยในการควบคุมแคลอรีระหว่างวัน เพื่อเสริมพลังงานก่อนออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ร่างกายสามารถดึงแคลอรีเข้าสู่การทำงานของเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว และยังส่งเสริมระบบการเผาผลาญ ร่างกายที่เผาผลาญแคลอรีเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้วิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์มากขึ้นเช่นกัน การกินผักผลไม้สดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเสริมไฟโตนิวเทรียนท์เข้าสู่ร่างกาย แต่บางคนอาจไม่มั่นใจว่าผักผลไม้ที่ซื้อมานั้นมีสารปนเปื้อนหรือไม่ ดังนั้น อีกหนึ่งทางเลือกในปัจจุบันคือ การเลือกอาหารจากธัญพืชที่เรามั่นใจว่าปราศจากสารเคมี เพื่อการไปสู่วิถีชีวิตแนวสุขภาพที่สมดุลยิ่งขึ้น

สารไฟโตนิวเทรียนท์จากธรรมชาติต่างกับสารอาหารสังเคราะห์อย่างไร

ข้อมูลทางการแพทย์พบว่า หากร่างกายได้รับสารอาหารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นประจำทุกวัน จะลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากวิตามินหรือสารอาหารสังเคราะห์ที่ผลด้านสุขภาพยังมีความแปรปรวนตามวิธีการผลิตอยู่ นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่าสารไฟโตนิวเทรียนท์ยังมีส่วนประกอบธรรมชาติมากมายที่ไม่ได้ระบุไว้ แต่ให้ผลดีต่อร่างกาย เสริมการทำงานของวิตามินต่างๆ และยังช่วยระบบการทำงานของเซลล์ในร่างกายได้ดีกว่าวิตามินสังเคราะห์

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Dauchet L , Amouyel P, Hercberg S, Dallongeville J. Fruit and vegetable consumption and risk of coronary heart disease: a meta-analysis of cohort studies. J Nutr. 2006 Oct;136(10):2588-93.
  2. Sweeney MR , McPartlin J, Scott J. Folic acid fortification and public health: report on threshold doses above which unmetabolised folic acid appear in serum. BMC Public Health. 2007 Mar 22;7:41.
  3. Aljuraiban SG, et al. The Impact of Eating Frequency and Time of Intake on Nutrient Quality and Body Mass Index: The INTERMAP Study, a Population-Based Study.Journal of the academy of nutrition and dietetics. 2015, vol 115(4), 528–536.
  4. Wanwimolruk S, et al. Food safety in Thailand 4: comparison of pesticide residues found in three commonly consumed vegetables purchased from local markets and supermarkets in Thailand. Peer J. 2016, Sep 1;4:e2432.
  5. http://www.foodsafetynews.com/2015/06/the-prevalence-of-foodborne-illness/#.WoEOHCXFLX4
shop now