แคลเซียม (Calcium) คือ สารช่วยให้มวลกระดูกหนาแน่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีส่วนในการควบคุมหลอดเลือด กล้ามเนื้อ และหัวใจได้อีกด้วย แน่นอนว่าถ้าร่างกายขาดแคลเซียมจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายๆ อย่างเลยทีเดียว

ประโยชน์ของแคลเซียมมีอะไรบ้าง?

ประโยชน์ของแคลเซียมมีอะไรบ้าง?1

  • แคลเซียมบำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง และที่สำคัญยังสามารถเสริมสร้างฟันให้แข็งแรงขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

  • ช่วยในการควบคุมการทำงานของหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข็งตัว หยุดการไหลของเลือด และลดการสูญเสียเลือดได้อีกด้วย

  • ลดโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ช่วยให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น

  • ช่วยให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ

  • ช่วยเผาผลาญธาตุเหล็กและควบคุมน้ำหนัก

  • ช่วยให้การส่งต่อสัญญาณของระบบประสาทดีขึ้น

ร่างกายสามารถผลิตแคลเซียมได้เองหรือไม่?

ร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงต้องเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเหมาะและสามารถกักเก็บไว้สำหรับใช้บำรุงส่วนต่างๆ ไดัอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะดูดซึมผ่านบริเวณลำไส้เล็ก โดยจะสามารถดูดซึมได้เพียง 20-25% และที่เหลือจะถูกขับออกไป ผ่านทางอุจจาระนั้นเอง2

อาหารที่มีแคลเซียมมีอะไรบ้าง?

อาหารที่มีแคลเซียมมีอะไรบ้าง?3

นม เป็นหนึ่งในอาหารที่มีแคลเซียมสูง แต่นอกจากนมและผลิตภัณฑ์จากนมแล้ว ยังมีอาหารประเภทอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายได้เช่นกัน หากใครกำลังมองหาอาหารที่ช่วยเพิ่มแคลเซียม บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงแล้ว ก็สามารถเลือกทานอาหารเแคลเซียมสูงได้ดังนี้

นมและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม

อย่างที่บอกไปแล้วว่า นม หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง และเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็กๆ ในขณะผู้ใหญ่ ก็สามารถดื่มนมเพื่อช่วยบำรุงให้ฟันและกระดูกแข็งแรงได้

แต่ในนมโคพร้อมดื่มทั่วๆ ไป มักมีปริมาณไขมันสูงเกินกว่าความต้องการของผู้ใหญ่ จึงควรเลือกรับประทานนมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำ ไม่เกิน 2 กล่องต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเหมาะ โดยไม่บริโภคไขมันมากเกินความต้องการของร่างกาย

  • แคลเซียมในนมโคและเนยนม: 300 mg. / 1 cup

  • คอทเทจชีส: 65 mg. / 1 cup

  • เนยหมัก: 250 mg. / 1 cup

  • นมถั่วเหลือง: 200 - 400 mg. / 1 cup

  • โยเกิร์ต: 450 mg. / 1 cup

  • โกโก้ร้อน: 320 mg. / 1 packet

  • นมผงปราศจากไขมัน: 300 mg. / 5 Tbsp

  • ชีสบรี (Brie): 50 mg. / 1 oz

  • ชีสแข็งและมอซซาเรลลา: 200 mg. / 1 oz

เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย

ข้อควรระวัง: มีไขมันสูง ไม่เหมาะกับผู้แพ้แลคโตส

ถั่วและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว

อีกหนึ่งอาหารแคลเซียมสูงที่หลายๆ คนมองข้าม และยังเหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสในนมอีกด้วย โดยสามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว เช่น เต้าหู้แข็ง ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน

  • นมถั่วเหลือง: 200-400 mg. / 1 cup

  • ถั่วลูกไก่: 80 mg. / 0.5 cup

  • พืชตระกูลถั่วทั่วไปปรุงสุก: 15-50 mg. / 0.5 cup

  • ถั่วปินโตปรุงสุก: 75 mg. / 1 cup

  • ถั่วแระต้ม: 100 mg. / 0.5 cup

  • เทมเป้: 75 mg. / 0.5 cup

  • เต้าหู้แข็ง: 250 - 750 mg. / 4 oz

  • เต้าหู้อ่อน: 120 - 390 mg. / 4 oz

  • ถั่วขาวต้ม: 75 mg. / 0.5 cup

เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย

ข้อควรระวัง: มีผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะในผู้หญิงและเด็ก14

ปลาและสัตว์เล็ก

ถ้าหากใครที่ชื่นชอบการกินปลาอยู่แล้ว บอกเลยว่าปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ ที่สามารถกินได้ทั้งตัว เป็นอาหารแคลเซียมสูงที่ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไปบำรุงกระดูกอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกลุ่ม ปลาซิว ปลาซาร์ดีน กุ้งฝอย และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่อาจต้องระวังเรื่องของไขมันและโซเดียม เพราะกรรมวิธีการปรุง จำเป็นต้องนำไปทอดแบบ Deep Fried เพื่อให้มีความกรอบจนสามารถรับประทานได้ทั้งตัวพร้อมก้างนั่นเอง

  • ปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ: 1700 mg. / 1 cup

  • ปลาแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง: 250 mg. / 3 oz.

  • ปลาแซลมอนกระป๋องพร้อมกระดูก: 170 - 210 mg. / 3 oz.

  • ปลาซาร์ดีน: 370 mg. / 3 oz.

เหมาะสำหรับ: เด็กโต-วัยผู้ใหญ่

ข้อควรระวัง: มีไขมัน และโซเดียมสูง

ผักใบเขียวและผลไม้

สายมังสวิรัติ ก็สามารถรับประทานอาหารแคลเซียมสูงจากพืชได้เช่นเดียวกัน เพราะในผลไม้และผักใบเขียวอย่าง กีวี่ ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ก็เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน แต่จะต้องกินในปริมาณมาก เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอต่อความต้องการ

  • ผักคะน้า: 55 mg. / 1 cup

  • ฟักทอง: 90 mg. / 1 cup

  • ผักร็อคเก็ต: 125 mg. / 1 cup

  • ผักกวางตุ้ง: 40 mg. / 1 cup

  • บรอกโคลี: 180 mg. / 1 cup

  • กระเจี๊ยบเขียว: 100 mg. / 1 cup

  • ผักชิโครี่: 40 mg. / 1 cup

  • คอลลาร์ด กรีนส์: 50 mg. / 1 cup

  • ข้าวโพด: 10 mg. / 1 cup

  • ผักเคล: 55 mg. / 1 cup

  • สาหร่ายทะเล: 60 mg. / 1 cup

  • ผักกาดเขียว: 40 mg. / 1 cup

  • ผักโขมสุก: 240 mg. / 1 cup

  • มะเดื่อแห้งดิบ: 300 mg. / 1 cup

  • กีวีดิบ: 50 mg. / 1 cup

  • น้ำส้ม: 300 mg. / 8 oz.

เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย

ข้อควรระวัง: ยาฆ่าแมลงและสารเคมีจากการปลูกที่อาจตกค้างอยู่

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัย

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัย16

เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมเองได้ การกินอาหารที่มีแคลเซียมจึงนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ละช่วงวัยก็ต้องการปริมาณแคลเซียมที่แตกต่างกัน โดยหากยึดข้อมูลจาก National Institutes of Health (Office of Dietary Supplements) ก็จะแนะนำปริมาณที่ควรกินในแต่ละช่วงวัยดังนี้

วัยเด็ก

ในวัยเด็กการได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการเจริญเติบโต ในเรื่องของกระดูกและฟัน ที่จะเสริมสร้างโครงสร้างร่างกายขึ้นมา เพราะหากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้โครงสร้างร่างกายไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นได้ โดยวัยเด็กควรได้รับปริมาณดังนี้

  • แรกเกิด - 2 ปี : 200 มิลลิกรัม (ควรดื่มนมแม่)

  • ระหว่าง 7 เดือน - 1 ปี : 260 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 3-4 กล่อง

  • อายุ 1-3 ปี : 700 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 3-4 กล่อง

  • อายุ 4-8 ปี : 1000 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 2 กล่อง และทานอาหารที่มีแคลเซียม

วัยรุ่น

ในวัยรุ่น (9 - 18 ปี) การบริโภคแคลเซียมนับว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะเป็นการเพิ่มกระดูกหรือเพิ่มโครงสร้างร่างกายให้ใหญ่ขึ้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรขาดเลยทีเดียว เพราะไม่อย่างนั้นจะส่งผลให้มีปัญหากระดูกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูกและกล้ามเนื้อได้

  • ชายและหญิง : 1300 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 2 กล่อง และทานอาหารที่มีแคลเซียม

วัยผู้ใหญ่

ในวัยผู้ใหญ่ (19 - 50 ปี) นับว่าเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยกระดูกและฟันก็จะถดถอยลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นการกินแคลเซียมในวัยผู้ใหญ่เองก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง อีกทั้งยังชะลอความเสื่อมถอย และป้องกันการเกิดโรคได้อีกด้วย

  • เพศชายและหญิง : 1200 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 1-2 กล่อง และทานอาหารที่มีแคลเซียม*

  • ตั้งครรภ์และให้นมบุตร : 1300 มิลลิกรัม15 ควรดื่มนมวันละ 2 แก้ว และทานอาหารที่มีแคลเซียม*

สูงวัย

วัยสูงอายุ (51 - 70 ปี) จะเป็นช่วงวัยที่การทำงานต่างๆ ของร่างกายประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน กับกระดูกและฟัน ซึ่งจะต้องรับมากกว่าวัยผู้ใหญ่ เพราะร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ที่อาจส่งผลให้เกิดผลโรคกระดูกพรุน หรือโรคกระดูกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้

  • อายุ 51-70 ปี : 1000 มิลลิกรัม ควรดื่มวันละ 1 แก้ว และทานอาหารที่มีแคลเซียม*

  • อายุ 70 ปีขึ้นไป : 1200 มิลลิกรัม ควรดื่มวันละ 1 แก้ว และทานอาหารที่มีแคลเซียม*

*อาจเลือกดื่มเป็นนมพร่องมันเนย เพื่อป้องกันการได้รับไขมันจากนมมากจนเกินไป

ถ้าหากได้รับแคลเซียมมากหรือน้อยเกินไปจะเป็นอย่างไร?

ถ้าหากได้รับแคลเซียมมากหรือน้อยเกินไปจะเป็นอย่างไร?

ในส่วนก่อนหน้านี้ก็ได้ระบุว่าแต่ละช่วงวัยควรรับแคลเซียมในปริมาณเท่าไหร่บ้าง แต่ทั้งนี้จะต้องบริโภคแคลเซียมไม่น้อยเกินไป หรือมากจนเกินไป เพราะจะเกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

ผลเสียจากการได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป

การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และอาการดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีเหมือนเก่า หรือไม่สามารถดูดซึมได้อีกแล้ว ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน และภาวะกระดูกบางซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ แก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนการกินมาเน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ชีส นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต ผักใบเขียวบางชนิด เป็นต้น

ทั้งนี้หากกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงแล้ว แต่ร่างกายยังดูดซึมแคลเซียมได้ไม่มากพอ ควรหาอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มระดับแคลเซียมหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม เพื่อให้แคลเซียมอยู่ในภาวะปกติ และการเดินรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า งดการสูบบุหรี่ควบคู่ไปด้วยก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นได้10

ผลเสียจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป

การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดนิ่วในไต หลอดเลือดตีบตัน รวมทั้งยังสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้8 เพราะแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมกลายเป็นหินปูน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ จึงต้องระมัดระวังการกินแคลเซียมเสริม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่รู้ปริมาณส่วนผสมอย่างชัดเจน มีอย. รับรอง และตรวจสอบแหล่งที่มาได้

แคลเซียมต้องกินตอนไหนถึงจะดี?

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินแคลเซียม คือการกินพร้อมมื้อเย็น เพราะช่วงกลางคืนร่างกายจะขับแคลเซียมออก จนทำให้ปริมาณแคลเซียมลดต่ำ การกินแคลเซียมเสริมในตอนเย็น จึงช่วยทำให้สมดุลของแคลเซียมคงที่ สามารถเข้าไปบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ8

แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม

แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม

เคล็ดลับที่จะช่วยให้รับแคลเซียมที่ดีที่สุด ก็คือการกินอาหารที่มีแคลเซียมบํารุงกระดูก ทั้งนี้หากไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เน้นเรื่องของการบำรุงกระดูกและฟัน ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน

นอกจากการกินแคลเซียมเสริมแล้ว ในผู้ที่มีภาวะดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีนัก ควรเสริมสารอาหารอย่าง แมกนีเซียมและวิตามินดี เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

หากเลือกอาหารเสริมที่มีครบทั้ง 3 ส่วนในเม็ดเดียว ก็จะช่วยให้สะดวก และทานง่ายเหมาะกับผู้สูงวัยหรือเด็กที่มีปัญหาเรื่องการกลืนเป็นอย่างมาก ซึ่งสารอาหารแต่ละชนิด มีคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • แคลเซียม : เพิ่มความแข็งแรงของฟันและกระดูกให้เป็นปกติ และช่วยทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามมาตรฐาน

  • แมกนีเซียม : ช่วยควบคุมการขนส่งและดูดซึมแคลเซียม

  • วิตามินดี : ช่วยในการดูดซับแคลเซียมและฟอสฟอรัสอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

แคลเซียม นับว่าเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกและฟัน ซึ่งสำคัญตั้งแต่ช่วงแรกเกิดจนไปถึงช่วงสูงวัยเลยทีเดียว นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ทุกคนควรบริโภคเสมอๆ ถ้าหากไม่มั่นใจว่าจะได้ครบหรือไม่ การบริโภค แคลเซียมบํารุงกระดูก สามารถช่วยได้ โดยในการกินนั้น ต้องดูปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งกินในเวลาที่เหมาะสมเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม ก็จะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงได้เป็นอย่างดี


ข้อมูลอ้างอิง

  1. เมดไทย. แคลเซียม (Calcium) ประโยชน์ของแคลเซียม 12 ข้อ !. medthai.com. Published 2 July 2020. Retrieved 22 March 2023.

  2. Paolo Hospital. แคลเซียมในเลือดผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด. Paolohospital.com. Published 7 April 2020. Retrieved 10 March 2023.

  3. ucsfhealth. Calcium Content of Foods. ucsfhealth.org. Retrieved 22 March 2023.

  4. นิธิยา รัตนาปนนท์, และพิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. แคลเซียม / calcium. foodnetworksolution.com. Retrieved 10 March 2023.

  5. bangkokinternationalhospital. แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน. bangkokinternationalhospital.com. Retrieved 10 March 2023.

  6. พิชญ์ภิญญาณ์ แก้วปานันท์. แคลเซียม..สาระน่ารู้. pharmacy.mahidol.ac.th. Published 19 October 2020. Retrieved 10 March 2023.

  7. NIH. Calcium. ods.od.nih.gov. Retrieved 10 March 2023.

  8. bangkokhospital. รู้จักแคลเซียมให้ดีกว่าเดิม. bangkokhospital.com. Retrieved 10 March 2023.

  9. sanook. คนแต่ละวัย ต้องการ "แคลเซียม" เท่าไหร่?. sanook.com. Published 16 March 2023. Retrieved 22 March 2023.

  10. pobpad. ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (HYPOCALCEMIA). pobpad.com. Retrieved 10 March 2023. 

  11. นรัตถพล เจริญพันธุ์.แนะกินแคลเซียมให้พอดี. rajavithi.go.th. Retrieved 10 March 2023. 

  12. Katherine Zeratsky. When should I take calcium supplements? Does the timing matter?. Published 12 September 2020. Retrieved 10 March 2023.

  13. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันท์. รับประทานแคลเซียมอย่างไรให้ได้ผล. chulalongkornhospital.go.th Published 23 September 2022. Retrieved 10 March 2023.

  14. Lindsey Konkel. Could Eating Too Much Soy Be Bad for You?. scientificamerican.com, Environment Health News. Published 3 November 2009. Retrieved 29 March 2023.

  15. ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์, ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ความสำคัญของแคลเซียม. Sriphat.med.cmu.ac.th, Document of Orthopedics Clinic, Faculty of Medicine Chiang Mai University, DOC:PI-IMC-110-R-00. Published 26 March 2020. Retrieved 27 March 2023.

  16. กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ, กรมอนามัย. กรมอนามัย ห่วง เด็กไทยดื่มนมน้อย ครึ่งแก้วต่อวัน หนุน ดื่มนมจืด 2 แก้ว ทุกวัน เพิ่มความสูง. Bureau of Information Office Of The Permanent Secretary Of MOPH. Published 24 May 2022. Retrieved 11 April 2023.

shop now