โดย นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย

ไม่ว่าคุณจะตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน หรือตั้งใจสร้างครอบครัว เพื่อให้ชีวิตประสบความสำเร็จและมีความสุขมากแค่ไหน แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเมื่อความสำเร็จนั้นมาถึง แต่คุณกลับจำอะไรไม่ได้! ภาวะสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ด้วยตัวคุณเอง สารอาหารที่มีคุณสมบัติเสริมการทำงานของสมองก็อาจเป็นตัวช่วยได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในภาวะที่สมองเผชิญกับความเครียดและภาวะร่างกายเจ็บป่วย สารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ สารสกัดจากโสมทะเลทราย สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย สารสกัดจากใบบัวบก และน้ำมันปลา

แค่สมองทำงานได้ ก็เพียงพอแล้วหรือ

สมองที่ใช้งานสม่ำเสมอจะสะสมประสบการณ์ ความคิดและความจำมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราใช้ชีวิตได้ฉลาดขึ้น และสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ได้ แต่หากระบบสมองทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ย่อมส่งผลต่อการดำรงชีวิตโดยตรง ความสุข ความปลอดภัย และสติปัญญาย่อมลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงทั้งตัวคุณเองและคนใกล้ตัวก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย

หลักการทำงานของสมอง

สมองเป็นอวัยวะสำคัญ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณ 86,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ เซลล์สมอง 1 เซลล์ สามารถเชื่อมต่อกับเซลล์อื่นได้ถึง 10,000 เซลล์ โดยเซลล์สมองจะยื่นระยางเซลล์ออกเพื่อติดต่อกับเซลล์ที่อยู่ใกล้และไกล ซึ่งทำงานด้วยกระแสประจุไฟฟ้าเพื่อใช้เวลาน้อยที่สุด และปลายเซลล์จะติดต่อกันด้วยสารสื่อประสาทซึ่งเป็นการหลั่งสารสื่อประสาทเพื่อส่งต่อให้เซลล์ถัดไปทำงานต่อเนื่อง

กลไกการจัดเก็บความทรงจำของสมอง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

เก็บเป็นความทรงจำ (Memory)

สมองจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ร่างกายรับรู้ก่อน จากนั้นจึงส่งต่อข้อมูลทั้งหมดไปยังสมองส่วนที่สองซึ่งทำหน้าที่ประมวลข้อมูลที่ได้รับเก็บเป็นความจำและส่งต่อไปยังสมองเก็บความทรงจำระยะสั้น (Short memory) ก่อน ในระยะนี้ ความทรงจำบางส่วนอาจสูญหายไปได้ในระหว่างการส่งต่อข้อมูล

กลั่นกรองส่วนสำคัญ (Focus)

เป็นกลไกการทำงานของสมองที่คัดเลือกส่วนความจำที่สำคัญๆ เพื่อเก็บเข้าสมองส่วนความจำระยะยาว แบ่งแยกตามชนิดความจำในสมองแต่ละส่วนอย่างเป็นระบบ

เรียกความทรงจำ (Recall)

สมองสามารถเรียกความทรงจำจากส่วนที่บันทึกเก็บไว้ ออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ถูกดึงมาใช้จะเข้าสู่การทบทวนและบันทึกเข้าสมองอย่างแม่นยำอยู่เสมอ ข้อมูลส่วนที่ไม่ได้เรียกมาใช้บางส่วนก็จะมีการลืมหรือลดรายละเอียดมากยิ่งขึ้น

การทำงานที่สมบูรณ์ทั้ง 3 ส่วน จะทำให้เรานำประสบการณ์ต่างๆ มาใช้งานได้ ทำให้ไม่ทำผิดซ้ำๆ ควบคุมความคิด และอารมณ์ตอบสนองอย่างเหมาะสมได้ แต่เมื่อสมองเริ่มเสื่อมจะมีอาการจากความจำระยะสั้นก่อน เมื่อเสื่อมมากขึ้น ก็จะเริ่มเสียการโฟกัส ค่อยๆ เสียความทรงจำระยะยาว และลุกลามสู่การเสียการ Recall ซึ่งทำให้เกิดอาการเสียความทรงจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนกระทบกระบวนการคิด วิเคราะห์ และอารมณ์อย่างต่อเนื่อง

สารอาหารที่ช่วยดูแลสมองและความจำ

ภาวะสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ด้วยตัวคุณเอง สารอาหารที่มีคุณสมบัติเสริมการทำงานสมองก็เป็นตัวช่วยได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในภาวะที่สมองเผชิญกับความเครียดและในภาวะที่ร่างกายเจ็บป่วย สารอาหารที่สำคัญ ได้แก่

1. สารสกัดจากโสมทะเลทราย หรือ ซิสแทนเช (Cistanche)

พืชชนิดนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการแพทย์แผนจีน ซิสแทนเชมีไฟโตนิวเทรียนท์ ไกลโคไซด์ (glycosides) ที่ช่วยเสริมสุขภาพสมองดังนี้

  • ช่วยเสริมการทำงานของสมอง ให้สามารถนึกได้ (Recall) จำดี (Memory) มีโฟกัส (Focus)
  • มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบที่เนื้อสมองอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาท ทำให้เซลล์สมองติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เซลล์สมองเกิดใหม่พัฒนาเข้าสู่ช่วงเต็มวัย
  • ช่วยกระตุ้นสารบีดีเอ็นเอฟ (BDNF: Brain Derived Neurotropic Factor) ในร่างกาย ซึ่งสารนี้ทำหน้าที่ฟื้นฟูการทำงานของเซลล์สมองและอาจช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมได้

จากการทดสอบในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่าการได้รับซิสแทนเช 300 มิลลิกรัมต่อวัน ทุกวันติดต่อกัน อย่างน้อย 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ การมีโฟกัส และการเรียกคืนความจำได้

2. สารสกัดจากแป๊ะก๊วย (Ginko Biloba)

สารกิงโกไลด์ (ginkgolide) ป้องกันหลอดเลือดสมองตีบ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดในสมอง ช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองที่บกพร่องจากการใช้สมองหนัก และเสริมความจำระยะสั้น

3. สารสกัดจากใบบัวบก (Centella Asiatica)

ช่วยเสริมความจำ โดยเฉพาะเมื่อร่วมกับสารอาหารบำรุงสมองอื่นๆ

4. น้ำมันปลา (Fish Oil)

กรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยชะลอการอักเสบ ตัวการเร่งความเสื่อมในเนื้อสมอง จึงช่วยเสริมความจำ ทั้งยังให้สารอาหารที่สำคัญต่อเซลล์สมองโดยตรงอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง
  1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
  2. อาทิตยา สุวรรณ์ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค, ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี, สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
  3. Alzheimer’s: what you must know to protect your brain. Sandra Cabot. WHAS Pty Ltd, 2005.
  4. Choi JG, Moon M, Jeong HU, et. al. (2011) Cistanches Herba enhances learning and memory by inducing nerve growth factor. Behavioral Brain Res 216:652.
  5. Ginkgo Biloba Monograph, Alternative Medicine Review, Volume 3, Number 1,
  6. Jiang P, Tu P-F. (2009) Analysis of chemical constituents in Cistanche species. Journal of Chromatography A. 1216:1970.
  7. Kaschel R. Specific memory effects of Ginkgo biloba extract EGb 761 in middle-aged healthy volunteers. Phytomedicine. 2011 Nov 15; 18(14):1202-7.
  8. Külzow N, et al. Impact of Omega-3 Fatty Acid Supplementation on Memory Functions in Healthy Older Adults. J Alzheimers Dis. 2016;51(3):713-25.
  9. Panupong P, et al. Effects of Centella asiatica (L.) Urb. on cognitive function and mood related outcomes: A Systematic Review and Meta-analysis. Sci Rep. 2017; 7: 10646.
  10. Qian Xu, et al. Cistanche tubulosa Protects Dopaminergic Neurons through Regulation of Apoptosis and Glial Cell-Derived Neurotrophic Factor: in vivo and in vitro. Front Aging Neurosci. 2016; 8: 295.
  11. Shia J-Y, Su M-H, et. al. Acteoside and Isoacteoside protect Amyloid β peptide induced cytotoxicity, cognitive deficit, and neurochemical disturbances in vitro and in vivo. Int Journ Mol Sci. 18 (2017) 895.
  12. The better brain book: the best tools for improving memory and sharpness and for preventing aging of the brain. David Perlmutter and Carol Colman. Riverhead Books, 2004.
  13. The end of alzheimer’s: the first program to prevent and reverse cognitive decline. Dale E Bredesen. Bredesen Publishing LLC, 2017.
  14. Wang D, Wang H, Gu L. The antidepressant and cognitive improvement activities of the traditional Chinese herb cistanche. Evidence-Based Comp Altern Med (2017) Article ID 3925903
  15. Weo-Yong L, Yao C, et. al. Molecular pathways related to the longevity promotion and cognitive improved of cistanche tubulosa in Drosophila. Phytomedicine 26 (2017) 37.
  16. What is dementia. www.dementia.org.au
  17. Zhao Q, Gao J, Li W. (2010) Neurotrophic and neurorescue effects of Echinacoside in the subacute MPTP mouse model of Parkinsons disease. Brain Research.1346:224.
  18. Zhiming Li, et al. Herba Cistanche (Rou Cong-Rong): One of the Best Pharmaceutical Gifts of Traditional Chinese Medicine. Front Pharmacol. 2016; 7: 41.
shop now