โหระพามีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และการติดเชื้อ อีกทั้งยังมีสรรพคุณต่อสุขภาพตับ สุขภาพหัวใจ ช่วยต้านมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยลดเลือนริ้วรอยอีกด้วย

โหระพา คืออะไร?

โหระพา (Basil) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum basilicum เป็นสมุนไพรวงศ์เดียวกับมินต์และกะเพรา เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียและแอฟริกา โหระพายังถูกใช้เพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติในวัฒนธรรมอาหารของหลายๆ ประเทศ และเป็นที่นิยมใช้รักษาโรคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

9 สรรพคุณของโหระพา

โหระพามีสรรพคุณที่ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานมีสุขภาพที่ดีขึ้น สารในใบโหระพาประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสรรพคุณที่โดดเด่นของใบโหระพา มีดังนี้

1. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

โหระพาประกอบไปด้วยสารที่สำคัญ เช่น ฟลาโวนอยด์ แคโรทีน ฟีนอลิก ยูเกนอล และลิโมนี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ2 นอกจากนี้กรดโรสมารินิก ยังมีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายจากการทำลายของอนุมูลอิสระต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจอีกด้วย13

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

2. ช่วยลดการอักเสบ

สารยูเกนอล ลินาลูล และซิโตรเนลลอล ที่อยู่ในใบโหระพา3 มีคุณสมบัติผลิตไซโตไคน์ในระบบภูมิคุ้มกันในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใบโหระพาจึงถูกใช้ลดอาการอักเสบอย่างแพร่หลายในประเทศจีน

3. ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

สารในน้ำมันใบโหระพาอย่าง ลิโมนีน ลินาลูล ไพนีน ซีนีโอล ไมร์ซีน เฟนโชน และโอซิมีน มีส่วนช่วยในการต้านการติดเชื้อต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคปอดบวมต่างๆ รวมทั้งโรคติดต่อที่เป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย และโรคเท้าช้าง12

4. ช่วยบำรุงสุขภาพตับ

โหระพา ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยล้างพิษและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทำให้ไขมันสะสมที่มีอยู่ในตับลดน้อยลง8 ช่วยบำรุงให้ตับมีสุขภาพดี แถมยังป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับได้

5. ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็ง

โหระพา ช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการปกป้องร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากสารพิษ โดยการลดความเสียหายของ DNA และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งในร่างกาย1

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

6. ช่วยลดเลือนริ้วรอย

ริ้วรอยบนใบหน้าและร่างกายเกิดจากอนุมูลอิสระ สารฟีนอล และฟาโวนอยด์ที่มีอยู่ในโหระพาจะมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสเกิดริ้วรอย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มคอลลาเจน ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ทำให้ผิวเต่งตึง ริ้วรอยที่มีก็ลดเลือนหายไปได้อีกด้วย9

7. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

สารสกัดเอธานอลในโหระพา ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ทำให้การใช้โหระพากันอย่างแพร่หลายทางการแพทย์เพื่อลดน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน10

8. ช่วยบำรุงหลอดเลือดในหัวใจ

น้ำมันสกัดจากโหระพามียูจีนอลที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด11 ส่งผลให้ค่าซิสโตลิก ไดแอสโตลิก และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลง ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดได้

9. ช่วยบรรเทาสุขภาพจิต

การรับประทานใบโหระพาที่มีสารอาหารอย่างลูทีน ซีแซนทีน เบต้าแคโรทีน และเบต้า-คริปโตแซนทิน จะช่วยลดความเครียด1 ต้านอาการซึมเศร้า และช่วยบำรุงความจำ การทำงานของระบบสมอง และลดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับได้3,5

ใช้โหระพาอย่างไร ให้ได้ประโยชน์

ใบของโหระพาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน ดังนี้

อาหารเสริมที่มีโหระพา

แม้ว่าโหระพาสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต แต่การบริโภคจากมื้ออาหารอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงมีการนำโหระพามาสกัดแคปซูลในรูปแบบอาหารเสริมจากธรรมชาติ ประกอบไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียมเหล็ก สังกะสี รวมทั้งโพแทสเซียม3

เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากโหระพาสกัดอย่างครบถ้วน ควรบริโภคอย่างน้อย 2 ช้อนโต๊ะหรือ 5 กรัมต่อวัน ซึ่งปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้ควรอ่านฉลากและปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยโหระพาเป็นที่รู้จักในเรื่องของการเสริมสร้างความกระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังจากอาการเหนื่อยล้า และบรรเทาอาการทางจิตใจ สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการปวดหัว อาการปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ไขข้อต่างๆ แถมยังช่วยบรรเทาอาการไม่สบายทางเดินหายใจ และระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย ในด้านความงามน้ำมันหอมระเหยโหระพาขึ้นชื่อในการบำรุง ซ่อมแซม ปรับสมดุลผิวให้เรียบเนียนกระจ่างใส ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวและเส้นผมได้4

นำโหระพามาปรุงอาหาร

ใบโหระพาเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เพิ่มรสชาติและสีสันให้กับมื้ออาหาร จึงเป็นที่รู้จักทั้งในเมนูเมดิเตอร์เรเนียนหลายชนิด และโดยเฉพาะอาหารอิตาเลียน และอาหารอื่นๆ ในแถบเอเชีย เช่น อาหารอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนามก็มีสมุนไพรชนิดนี้มาปรุงอาหารเช่นกัน5 โดยปริมาณที่แพทย์แนะนำให้บริโภคต่อวันอยู่ที่ 1 ช้อนโต๊ะ3

กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังในการใช้โหระพา

โหระพาอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับคนบางกลุ่ม เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร เพราะสารเอสตราโกลที่พบในโหระพาอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีบาดแผลหรือเลือดออกมากกว่าปกติ ควรงดการรับประทานสารสกัดและน้ำมันโหระพาเนื่องจากมีวิตามินเคสูงที่จะออกฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด รวมทั้งผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรงดรับประทานโหระพาทั้งรูปแบบสดและอาหารเสริมใน 2 สัปดาห์แรก เพื่อลดโอกาสเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด และในผู้ที่มีความดันต่ำควรให้แพทย์ประเมินก่อนนำมาบริโภค เนื่องจากโหระพามีฤทธิ์ที่ช่วยลดความดันโลหิต

ผสานคุณค่า วิตามิน
เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์

สรุป

โหระพาเป็นสมุนไพรประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งในด้านป้องกันการอักเสบ ติดเชื้อ ต้านอนุมูลอิสระ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และอีกมากมาย สารประกอบในใบโหระพาส่งผลประโยชน์ด้านความงามในการบำรุงผิวและเส้นผม แม้ว่าโหระพาเป็นพืชที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกายในการนำมารับประทานและปรุงอาหาร อย่างไรก็ตาม ร่างกายและโรคประจำตัวแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ก่อนนำมาบริโภค เพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Cohen, M.M. Tulsi - Ocimum sanctum: A herb for all reasons. ncbi.nlm.nih.gov. Published October 2014. Retrieved 22 November 2023.
  2. Li H;Ge Y;Luo Z;Zhou Y;Zhang X;Zhang J;Fu Q. Evaluation of the chemical composition, antioxidant and anti-inflammatory activities of distillate and residue fractions of Sweet Basil Essential Oil. ncbi.nlm.nih.gov. Published 8 April 2017. Retrieved 22 November 2023.
  3. WebMD. Health benefits of basil. webmd.com. Published 3 July 2023. Retrieved 22 November 2023.
  4. New Directions Aromatics. Basil Sweet Oil - Benefits & Uses of Energizing & Stimulating Oil. newdirectionsaromatics.com. Published (no date). Retrieved 22 November 2023.
  5. Medical News today. Basil: Uses, benefits and Nutrition. medicalnewstoday.com. Published 13 July 2023. Retrieved 22 November 2023.
  6. Pobpad. โหระพา ผักพื้นบ้านกับสรรพคุณทางการรักษา. pobpad.com. Published (no date). Retrieved 22 November 2023.
  7. McCulloch, M. Basil: Nutrition, health benefits, uses and more. healthline.com. Published 13 July 2023. Retrieved 22 November 2023.
  8. Ponnusam, Y. et al. Antioxidant activity of the ancient herb, Holy Basil in CCL4-induced liver injury in rats. ncbi.nlm.nih.gov. Published 25 February 2016. Retrieved 22 November 2023.
  9. Rasul, A. and Akhtar, N. Formulation and in vivo evaluation for anti-aging effects of an emulsion containing basil extract using non- invasive biophysical techniques. ncbi.nlm.nih.gov. Published 2011. Retrieved 22 November 2023.
  10. Widjaja, S.S., Rusdiana and Savira, M. Glucose lowering effect of basil leaves in diabetic rats. ncbi.nlm.nih.gov. Published 15 May 2019. Retrieved 22 November 2023.
  11. Tabassum, N. and Ahmad, F. Role of natural herbs in the treatment of hypertension - PMC. ncbi.nlm.nih.gov. Published 2011. Retrieved 22 November 2023.
  12. Sienkiewicz, M. et al. The potential of use Basil and Rosemary Essential Oils as effective antibacterial agents. ncbi.nlm.nih.gov. Published 5 August 2023. Retrieved 22 November 2023.
  13. ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน. โหระพา คุณค่าที่มากกว่าความอร่อย. doctor.or.th. Published 1 December 2008. Retrieved 22 November 2023.
shop now