Alfalfa หรือ อัลฟัลฟา เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีขนาดเล็ก เป็นพืชที่มีโปรตีน และวิตามินที่สูงมาก มีสารที่จะช่วยบำรุงเรื่องกระดูก และข้อต่อ อีกทั้งยังให้ผลดีต่อภาวะหลังประจำเดือน และช่วยรักษากระบวนการย่อยอาหารอีกด้วย

อัลฟัลฟา คืออะไร?

อัลฟัลฟา หรือลูเซิร์น (Lucerne) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Medicago sativa L. มีที่มาจากบริเวณแถบเอเชียตะวันตก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งในอดีตอัลฟัลฟานั้นถูกนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ในวงการปศุสัตว์ แต่ในปัจจุบันอัลฟัลฟาคือพืชตระกูลถั่วที่ให้สรรพคุณในด้านอาหารสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ เพราะมีสารอาหารที่สำคัญทั้งวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน และสารไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิด ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) คูเมสแทน (Coumestans) และลิกแนน (Lignans) จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล”1

สรรพคุณของอัลฟัลฟา

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าอัลฟัลฟา (Alfalfa) นั้นมีสารอาหารสูง ดังนั้นจึงสามารถบอกได้เลยว่าสรรพคุณของอัลฟัลฟาก็มีมากมายเช่นกัน มาดูสรรพคุณหลักๆ ที่น่าสนใจของอัลฟัลฟากันได้เลย

  • บำรุงกระดูก อัลฟัลฟาอุดมด้วยแคลเซียมและไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิดที่ส่งผลดีต่อการสร้างกระดูกและส่งเสริมให้กระดูกมีความแข็งแรง
  • ต้านมะเร็ง เพราะสารประเภทไฟโตรเอสโตรเจนและสารแคโรทีน ซึ่งอุดมด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง รวมถึงช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม1
  • ลดระดับน้ำตาล เพราะอัลฟัลฟามีธาตุแมงกานีส ที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และมีสารประกอบจากพืชที่เรียกว่าซาโปนินช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ รวมถึงเป็นอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยชะลอการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่ลำไส้ ส่งผลให้ช่วยควบคุมโรคเบาหวานและภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวานได้6

คืนความแข็งแรง
ให้กระดูกและข้อ

  • ลดการอุดตันของเส้นเลือด ด้วยสารซาโปนิน ที่มีส่วนช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาท และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น และลดภาวะไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร เพราะสารซาโปนินนั้นมีรสขม1
  • ลดบวม โดยถูกนำมาใช้รักษาโรคไตที่กักเก็บน้ำในร่างกายมากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะตัวบวม หรือช่วยลดอาการชา และทำให้เส้นเลือดขอดลดลง1
  • เพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดแดง ช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ช่วยในเรื่องการจับตัวของเลือด และช่วยรักษาโรคโลหิตจาง1
  • รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เพราะมีเอนไซม์ที่ช่วยในการดูดซึมอาหาร และสารที่ช่วยเคลือบกระเพาะให้แข็งแรง ช่วยรักษาอาการแก๊สในกระเพาะ อาการจุกเสียด แผลในกระเพาะ หรือโรคเบื่ออาหารได้1

อัลฟัลฟา มีประโยชน์ยังไง?

อัลฟัลฟา (Alfalfa) นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่ให้คุณประโยชน์กับร่างกาย ซึ่งมีวิธีการกินที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละคนเช่นกัน ไม่ว่าจะกินแบบสดๆ นำไปดื่มในรูปแบบชา หรือกินแบบอาหารเสริม โดยอัลฟัลฟานั้นมีประโยชน์หลักๆ ดังนี้

เสริมสร้างกระดูก และข้อต่อ

สำหรับประโยชน์ที่สำคัญของอัลฟัลฟาคือการช่วยเสริมสร้างกระดูก และข้อต่อ ช่วยบรรเทาอาการปวดหรือโรคเกี่ยวกับกระดูก ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดข้อ โรคข้อต่ออักเสบ ข้อแข็ง หรือโรครูมาตอยด์ เพราะในอัลฟัลฟานั้นมีกรดยูริก และกรดอื่นๆ ที่จะช่วยปรับสมดุลของร่างกายให้ภายในร่างกายมีค่าความเป็นกรด-เบสที่พอดีตามที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างฟันให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะอุดมไปด้วยสารฟลูออไรด์และแคลเซียม1

คืนความแข็งแรง
ให้กระดูกและข้อ

ระบบเผาผลาญของร่างกายดีขึ้น

ภายในอัลฟัลฟามีไฟเบอร์สูง ที่จะมีส่วนช่วยให้ระบบเผาผลาญภายในร่างกายทำงานดีขึ้น ช่วยฟื้นฟูลำไส้ให้แข็งแรง และสุขภาพดีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ช่วยแก้อาการท้องเสีย หรือท้องผูกได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดของเสีย และสารพิษภายในร่างกาย ลดสารตกค้างภายในร่างกายที่เป็นสาเหตุให้ระบบภายในร่างกายติดขัด จนทำให้ผิวคล้ำ ไม่ผ่องใสอย่างที่ควร จากการศึกษาพบว่า อัลฟัลฟายังช่วยทำให้เกิดปฏิกิริยาในการปล่อยอินซูลินออกมาจากตับอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบเผาผลาญดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน1

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

อัลฟัลฟาประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ไทอามีน และไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง และห่างไกลจากโรคต่างๆ นอกจากนี้ ยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลายไป อาจกล่าวได้ว่า อัลฟัลฟาสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว2

ดีต่อภาวะหลังหมดประจำเดือนของผู้หญิง

อัลฟาฟามีสารที่เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจนสูง ซึ่งสารชนิดนี้ทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยบรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน อีกทั้งภายในอัลฟัลฟายังมีสารสำคัญอีกอย่างคือ ไอโซฟลาโวน ที่สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม บรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน และช่วยในเรื่องของสุขภาพกระดูก กล่าวคือ ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน อีกทั้งไอโซฟลาโวนอาจมีประโยชน์ในการลดอาการร้อนวูบวาบของวัยหมดประจำเดือนอีกด้วย4

ข้อควรระวังในการกินอัลฟัลฟา

แม้อัลฟัลฟาจะมีสารอาหารสำคัญต่อร่างกายมากมาย และมีส่วนช่วยทำให้ระบบในร่างกาย หลายๆ ระบบดีมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีข้อควรระวังในการกินอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นพืชที่อุดมไปด้วยไฟโตเอสโตรเจน วิตามินเค และซาโปนิน ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกินยาอื่นๆ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาละลายเกล็ดเลือด หรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

คืนความแข็งแรง
ให้กระดูกและข้อ

สรุป

จะเห็นได้ว่าอัลฟัลฟามีสรรพคุณ และคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพของกระดูก ลดคอเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในระบบการเผาผลาญ หรือช่วยในเรื่องสุขภาพของผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน แต่ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนที่จะกินอัลฟัลฟา เพราะอัลฟัลฟาอาจส่งผลกระทบ และทำปฏิกิริยาต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้

ในปัจจุบันอัลฟัลฟามีอยู่ในรูปแบบอาหารเสริม ที่ทำให้พกพาและกินได้สะดวกมากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องหาข้อมูลก่อนทำการสั่งซื้อ เพราะมักมีอาหารเสริมปลอมที่มีการแอบอ้างมาหลอกขายมากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง
  1. Medthai. 45 สรรพคุณและประโยชน์ของอัลฟัลฟ่า medthai.com. Published 20 January 2020. Retrieved 18 October 2023.
  2. PubMed. Immunomodulatory, antioxidant and intestinal morphology-regulating activities of alfalfa polysaccharides in mice pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 22 April 2022. Retrieved 18 October 2023.
  3. PubMed. The regulation of alfalfa saponin extract on key genes involved in hepatic cholesterol metabolism in hyperlipidemic rats pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 5 February 2014. Retrieved 18 October 2023.
  4. PubMed. Scientific Evidence Supporting the Beneficial Effects of Isoflavones on Human Health pubmed.ncbi.nlm.nih.gov. Published 17 December 2020. Retrieved 18 October 2023.
  5. hellokhunmor. อัลฟัลฟา (Alfalfa) ถั่วต้นเล็กจิ๋ว แต่ประโยชน์ดีๆ มากเกินตัว hellokhunmor.com. Published 14 September 2020. Retrieved 18 October 2023.
  6. webmd. Health Benefits of Alfalfa webmd.com. Published 22 August 2022. Retrieved 18 October 2023.
  7. โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน. แคลเซียม...กับการสูญเสียกระดูก paolohospital.com. Published 22 March 2022. Retrieved 18 October 2023.
shop now